คนไทยภาคอื่นอาจรู้จักขนุน มากกว่าจำปาดะ แต่หากคุณเป็นคนใต้ คุณจะคุ้นเคยและพอได้ยินชื่อ จำปาดะ เพราะมันคือผลไม้พื้นถิ่นใต้ เมื่อก่อนเคยสงสัยว่าขนุนแตกต่างกับจำปาะดะยังไง เมื่อได้ชิมจะพบว่า ผลจำปาดะมีขนาดเล็กกว่า มีเปลือกบางกว่าขนุน เมื่อผลสุกแล้วจะมีรสหวานจัด มีน้ำเยอะกว่าขนุน เนื้อค่อนข้างนิ่ม เหนียว เคี้ยวไม่ขาดอย่างเนื้อขนุนซึ่งแข็งและกรอบกว่า
จำปาดะที่มีชื่อเสียง ต้อง“จำปาดะเกาะยอ” นิยมปลูกใน เกาะยอ กลางทะเลสาบสงขลา ถ้าใครมาลองชิมจะติดใจ ฟินกันทุกราย เคยได้ชิม และหลงใหลในรสชาติหวาน หอม อร่อย เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของคนเกาะยอ ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ เกาะยอทำให้ จำปาะดะเกาะยอ มีรสชาติที่แตกต่าง และ ถูกเรียกกว่า จำปาดะขนุน
“จำปาดะขนุน” เป็นลูกครึ่งระหว่างจำปาดะกับขนุน ผลใหญ่กว่าขนุน เนื้อแน่นและนิ่มกว่าจำปาดะทั่วไป จุดเริ่มต้นของ พันธุ์จำปาดะขนุน ต้องย้อนไปปี พ.ศ. 2431 (โหยยย 100 กว่าปีแล้วหรอ) ชาวบ้านนำจำปาดะไปถวายให้เจ้าเมืองสงขลาคนสุดท้าย พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ท่านนำเม็ดไปปลูก และสังเกตว่ามีต้นหนึ่งที่แตกต่าง แกะออกมาพบว่ามี ผลใหญ่กว่าขนุน เนื้อนิ่ม เหลว จึงเรียกตามกันมาว่า จำปาดะขนุน ชาวบ้านจึงนำไปปลูก และ มีชื่อเสียงจนปัจจุบัน
รสชาติความอร่อยหลายคนคงเคยทานจำปาดะทอด กลิ่นหอมเนื้อนิ่มแป้งกรอบ วางคู่กับกล้วยแขก เผือกทอด ตามร้านทั่วไป แต่ชาวบ้านที่เกาะยอ ล้ำกว่านั้น ต่อยอดพัฒนา ไอศกรีมจำปาดะ รสหวานเย็นอร่อย กลิ่นหอม ทานแล้วเพลินวางไม่ลงจริง ๆ นอกจากนี้ เมล็ดของจำปาดะยังสามารถนำไปใส่ในแกงพุงปลา แกงคั่วกะทิ (หิวเลยอ่ะ) หรือใส่ในไส้ข้าวต้มมัด ทานได้เพลินจริง ๆ
หากศึกษาเรื่องของวัฒนธรรมจะพบว่า จำปาดะ ภาษามลายูเรียกว่า Cempedak (เจิมเปอดะก์) ชาวมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมปลูก และรับประทานเช่นเดียวกับทางภาคใต้ของไทย เป็นที่ชื่นชอบผู้คนแถบนี้ แม้กระทั่ง Mark Wiens ยูทูปบล็อกเกอร์ชื่อดังชาวต่างชาติ เคยกล่าวถึงจำปาดะว่า เขาเซอร์ไพรส์มากที่ผลไม้ชนิดนี้ มีรสชาติหวาน และ อร่อยกว่าขนุน บอกได้เลยว่าแม้แต่ชาวต่างชาติยังติดใจ และหลงรัก จำปาดะ ผลไม้พื้นถิ่นของภาคใต้
ขอบคุณรูปภาพ www.kohyor.go.th
เรียบเรียง : HatyaiFocus
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 251กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 207ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 245กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 2,143ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 458ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 6,439ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,370เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,468