วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ก่อนจะมาเป็นวัดถ้ำตลอดที่โยงใยกับรัฐลังกาสุกะ ซึ่งเป็นรัฐที่เก่าแก่และเจริญที่สุดในคาบสมุทรมลายา ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่1 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 80-100 หรือ ประมาณพ.ศ. 623 – 643 หรืออาจจะตั้งมาก่อน คริสต์ศตวรรษก็ได้มีการเรียกหลายชื่อ กล่าวคือจีน เรียกว่า หลางหยาสิว หลางซีเจีย หลางหยาซูหลางหยLANG YA อารับ เรียกว่า ลันกอซูกา – ลังกอซูกา อินเดีย เรียกว่า อิลังกาโสกา
คำว่า ลังกาสุกะ มาจากภาษามลายูคำว่า A LANG KAH SUKA แปลว่า มีความสุขสำราญ สนุกสนานอย่างมากอาณาเขตของลังกาสุกะ ครอบคลุมดินแดนต่าๆ ทางฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายูด้านอ่าวไทย ตั้งแต่สงขลาถึงกลันตัน ทางฝั่งตะวันตกด้านอ่าวเบงกอลจดเกดาห์ ทางทิศใต้ถึงสิงคโปร์ ทางทิศเหนือจดนครศรีธรรมราช หรือจดประเทศพันพัน/พานพาน/น่าจะเป็น อำเภอพุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ประวัติศาสตร์นี้ได้จากนักประวัติศาสตร์ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ได้บันทึกเอาไว้ในประเทศจีน ชื่อว่า เหลียงซู
เหลียงซู นักประวัติศาสตร์ชาวจีนได้บันทึกไว้ว่า หลางหยาสิว ตั้งอยู่ทางทะเลใต้ หนานไห่มีอาณาเขตจากพรมแดนตะวันออกถึงพรมแดนทิศตะวันตกใช้เวลาเดินทางด้วยเท้า 30 วัน จากพรมแดนทิศเหนือถึงพรมแดนทิศใต้ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้า 20 วัน อยู่ห่างจากกวางเจา (กลางตุ้ง) 24,000 ลี้ ภูมิประเทศและผลผลิตคล้ายประเทศฟูนัน (FUNAN) เส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายาถึงรัฐลังกาสุกะ ใช้ช้างเป็นพาหนะโดยใช้เลียบลำน้ำเป็นแนวทางสำคัญ เส้นทางที่ใช้มี 2 เส้นทาง
และทั้งสองเส้นทางใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือน 25 วันจากเมืองหลวงที่บ้านกรือเซะ CKERSIK สู่ยะรัง เมืองลังกาสุกะเดิม ผ่าน บ.ยาบี - บ.โคกหมัก-บ.ปรักปรือ อ.หนองจิก สู่ บ.แม่กัง บ.ยางแดง อ.โคกโพธิ์ ผ่านช่องเขา บ.นาค้อ- บ.ป่าลาน–บ.ป่าบอน ข้ามช่องเขาสันกลาคีรี – สู่ บ.ควนหินกอง บ.คูหา บ.ถ้ำตลอด –บ.สวนชาม อ .สะบ้าย้อย เข้าสู้เมืองไทรบุรี โดยคาดว่าออกทางบ.ทุ่งไทรแจ้ ม.5 ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา มีเนื้อที่ตั้ง วัดได้ประมาณ 20 ไร่ ฯลฯ วัดถ้ำตลอด ตั้งอยู่ ม.6 ต.เขาแดง อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
วัดถ้ำตลอดเป็นวัดเก่าแก่เท่าที่พอค้นประวัติมาได้เมื่อประมาณ พ.ศ.2219 แต่คงจะสร้างมาก่อนหน้านั้นอีก ได้รับวิสุงคามสีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2275 รวมอายุวัดเท่าที่พอค้นคว้าได้ 334 ปี วัดถ้ำตลอดมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหิน มีถ้ำน้อยใหญ่มากมายอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ที่หายากนานาชนิด ว่านยาต่างๆ นานาพันธุ์ และยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โบราณสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาหลายแห่งรอบๆ บริเวณวัดถ้ำตลอด หนึ่งในนั้นคือ ถ้ำสถานที่ที่หลวงปู่ทวดเคยใช้นั่งวิปัสสนา เมื่อคราวที่หลวงปู่ทวดท่านยังมีชีวิตอยู่ ปฏิบัติภารกิจของพระสงฆ์ผู้ละแล้วเรื่องทางโลก มุ่งสู่ทางธรรมเพื่อตามรอยของสมเด็จองค์พระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ถ้ำที่ท่านใช้นั่งวิปัสสนา มีชื่อเรียกตามภาษาชาวบ้านว่าถ้ำคอก หรือถ้ำหลวงปู่ทวด
ซึ่งปรากฏหลักฐานอยู่จนทุกวันนี้ ถ้ำคอกหรือถ้ำหลวงปู่ทวด เป็นภูเขาหินขนาดใหญ่สวยงามมาก ถ้ำสูงจากพื้นดินประมาณ 30-40 เมตร ทางเข้าถ้ำจะมีต้นไม้ไทรขนาดใหญ่สองต้น เป็นเขตบอกประตูเข้าถ้ำหรือเขตบริเวณถ้ำคอก บริเวณนั้นจะเป็นที่ราบเรียบมีต้นไม้น้อยใหญ่ ให้ความร่มรื่นมากมายเหมาะแก่การทำสถานปฏิบัติธรรม รอบบริเวณนั้นจะเป็นกำแพงภูเขาหินหน้าผาสูงกั้นเอาไว้ทั้งสามด้านชาวบ้านจึงเรียกกันว่าถ้ำคอก จากปากทางต้นไทรใหญ่เดินตรงไปประมาณเกือบ 300 เมตร ก็จะถึงบันไดทางขึ้นหลวงปู่ทวด เป็นบันไดไม้ประมาณ 80 กว่าขั้น
ซึ่งท่านพระอาจารย์กล้ายญาณสำโร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันท่านได้สร้างเอาไว้ให้ผู้มีจิตศรัทธาขึ้นไปกราบไหว้บูชา องค์หลวงปู่ทวด รูปหล่อตัวแทนขององค์ท่านภายในถ้ำคอด หรือถ้ำหลวงปู่ทวดที่ท่านพระอาจารย์ปลัดกล้าย ญาณสํวโร ได้อันเชิญรูปเหมือนของท่านขึ้นไปประดิษฐาน ณ ที่ท่านเคยนั่งวิปัสสนาบนถ้ำคอก หากมองดี ๆจะพบก้อนหินขนาดใหญ่ บนก้อนหินนั้นจะเห็นเป็นหลุมลึกคล้าย ๆ กับครกโบราณ หรือหินบดยาในสมัยก่อน มีสากหินนั้นและตัวอักษรเขียนด้วยหินสีโบราณ เป็นลายมือของท่านหลวงปู่ทวด ท่านเขียนชื่อของท่านเอาไว้ว่า สมเด็จพระราชมุณีสามิราโมคุณูปจารย์
ต่อมาภายในหลังมีคนขโมยสากหินไป และร่องรอยเขียนสีโบราณชื่อของท่านคนที่ขึ้นไป และได้ลูบชื่อของท่าน หรือไม่ก็เขียนชื่อตนเองทับชื่อของท่าน จนชื่อท่านเลือนรางไปในที่สุด ณ ถ้ำคอกแห่งเดียวกันนี้ คราวสมัยอาจารย์ทิมวัดช้างไห้ ได้เคยใช้เป็นที่วิปัสสนาจนบรรลุโพธิญาณและท่านก็ได้เก็บของว่านยาต่างๆ กลับไปวัดช้างได้เพื่อจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรก พ.ศ. 2497 จนมีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันพระอาจารย์ปลัดกล้าย ญาณสํวโร ก็ยังใช้ถ้ำแห่งนี่เป็นที่สงบจิตวิปัสสนาอยู่บ่อยครั้ง
นอกจากนี้ภายในวัดถ้ำตลอดยังมีโบราณวัตถุและโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ถ้ำและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ชาวบ้านในแถบตำบลเขาแดงและเขตอำเภอใกล้เคียง ให้ความเคารพศรัทธาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ อย่างเช่นถ้ำพระนอนใหญ่ภายในวัดถ้ำตลอดซึ่งอยู่ด้านล่างใต้ภูเขาวัดถ้ำตลอดมีลักษณะเป็นห้องโถงใหญ่ ซึ่งบรรจุคนได้หลายร้อยคน จะมีบันไดขั้นไปนมัสการพระนอนองค์ใหญ่หรือพระปางไสยยาตร์อยู่ภายในถ้ำ อายุราวๆ ประมาณ 300 กว่าปี สร้างเมื่อคราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง รอบพระนอนจะเป็นพระเรียงรายล้อมรอบ
ชาวบ้านเชื่อกันว่าคงจะสร้างในคราวหลวงปู่ทวดท่านยังมีชีวิติอยู่ ออกจากห้องโถงใหญ่เดินตรงขึ้นไปทางทิศใต้ประมาณ 30-40 เมตร ก็จะพบถ้ำอีกแห่งหนึ่งที่มีรูปปั้นยักษ์หรือพ่อท้าวเวสสุวรรณ ยืนถือกระบองอยู่หน้าถ้ำ ข้างๆ รูปปั้นยักษ์ตามหินที่เชิงหน้าผา ถ้าสังเกตดูดีๆ จะเห็นรูปแกะสลักหินเป็นรูปสัตว์และรูปคนอยู่ทั้งสองข้าง แต่ถ้าเราเงยแหงนหน้าขึ้นไปมองข้างบนเชิงหน้าผา เราก็จะเห็นพระพุทธรูป ปูนปั้นเรียงรายอยู่เต็มตายาว ของหน้าผานั้น แต่ถ้าหากว่าเราเดินดูพระพุทธรูปที่ตามหน้าผา เข้าไปข้างในนิดหนึ่งมองที่เพดานถ้ำ เราสังเกตดูจะเห็นรอยเขียนสีเป็นรูปลายกงจักรและดอกบัว
แต่ถ้าเราเดินตรงไปภายในถ้ำ หลังรูปปั้นยักษ์หรือพ่อท้าวเวสสุวรรณ ขึ้นบันไดไปเราก็จะพบพระพุทธรูปปูนปั้นเก่าแก่อายุมากกว่าพันปีอยู่ภายในถ้ำ เป็นพระพุทธรูปปางไสยยาตร์ ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดภายในวัด และยังมีรูปปั้นทวดโต๊ะหยัง ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นให้การเคารพว่าศักดิ์สิทธิ์มาก แต่ถ้าหากเราเดินตรงไปออกประตูด้านในพระนอนเก่าแก่ ก็จะเป็นถ้ำห้องโถงใหญ่ให้เราได้เดินเที่ยวชมภายใน แต่ถ้าหากเราเดินไปเรื่อยๆก็จะทะลุออกตรงหน้าถ้ำพระพุทธรูปปางไสยยาตร์ องค์ใหญ่พอดี นอกจากนี้บนเชิงเขาข้างบน ยังมีพระอุโบสถเก่าแก่ที่อยู่บนเขา มีอายุราวๆ 500 กว่าปี และยังสามารถมองวิวชมทิวทัศน์จากข้างบนพระอุโบสถ จะเห็นหมู่บ้านถ้ำตลอดได้อย่างสวยงามแปลกตาอีกอย่างหนึ่ง
ขอบคุณภาพข้อมูล : เทศบาลตำบลเขาแดง สะบ้าย้อย
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 260จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 240บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 299ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 262พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 964รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 759เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 613ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 892