วันนี้ หาดใหญ่โฟกัส ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวัดแห่งหนึ่งในพื้นที่ตำบลบ่อด่าน ในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ที่มีเรื่องราวประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า วัดบ่อดานตก เพราะตั้งอยู่ในหมู่บ้านบ่อดาน และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดสุวรรณาราม ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า?วัดบ่อดานออก? เพราะเหตุที่วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก อันอยู่ในหมู่บ้านบ่อดานเช่นกัน เล่าสืบกันมาว่า ก่อนที่ชาวบ้านแถบนี้จะมาสร้างวัดผาสุกาวาส หรือวัดบ่อดานตกนี้ขึ้น วัดเดิมของชาวบ้านในถิ่นนี้ คือ วัดที่บ่อตาลก อันเป็นวัดใหญ่เก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย
ซึ่งมีพระเจดีย์ใหญ่เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุด้วย เพราะเมื่อคราวที่ทางวัดผาสุกาวาสสร้างโรงธรรม หรือศาลาการเปรียญของวัดหลังที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้นั้น ก็ได้รื้ออิฐที่พระเจดีย์แห่งนี้มาก่อนสร้างด้วย และในการรื้อครั้งนั้น ได้พบพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งถูกบรรจุไว้ในพระเจดีย์ พร้อมด้วยจารึกภาษาต่างประเทศ สันนิษฐานว่าเป็นภาษาสันสกฤต เพราะไม่มีใครอ่านออก แล้วทองเหลืองที่จารึกนั้นก็หักออกเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ จนไม่อาจจะติดต่อกันได้แล้วสูญหายไปหมดในที่สุดอย่างน่าเสียดาย หากจารึกนี้ไม่เสียหายก็คงมีผู้อ่านออกในที่สุด
ก็จะเป็นเหตุให้รู้จักประวัติศาสตร์ของดินแดนแถบนี้ดีขึ้น เพราะแถบนี้เป็นเมืองโบราณมาก่อนในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ที่พระพุทธศาสนามหายาน นิกายมันตรยานเคยเจริญรุ่งเรือง ในปัจจุบันมีเพียงบ่อน้ำเท่านั้นที่เป็นหลักฐานปรากฏอยู่ว่าเคยเป็นวัดมาก่อนซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ?บ่อตาลก? ที่ว่าถิ่นแถบนี้เคยเป็นเมืองโบราณมาก่อน ก็เพราะมีแนวกำแพงเมืองปรากฏอยู่ ยาวมากตั้งแต่ตัวเมืองอำเภอสทิงพระมาจนจรดมุมวัดผาสุกาวาสด้านตะวันตก แต่เป็นกำแพงขาดเป็นตอน ๆ เป็นเนินดินอยู่ก็มี ภายหลังถูกชาวบ้านรื้ออิฐไปใช้อย่างอื่น แล้วกลายเป็นเขตสวนเขตบ้านไปหมด
จึงไม่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เมืองนี้จะสร้างในราว พ.ศ. เท่าไร ก็ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด วัดผาสุกาวาสนี้ เป็นวัดมหานิกายมาก่อน ตามประวัติกล่าวว่า วัดนี้ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2359 โดยมีเจ้าอาวาสในสมัยที่ยังเป็นวัดมหานิกาย 2 รูป คือ
1. พระอธิการรัง หรือหลวงพ่อรัง
2. พระอธิการพุทธ หรือหลวงพ่อพุทธ พระอธิการพุทธ เป็นอาจารย์ของ พระอธิการฉุ้น ปญฺญาทีโป ท่านได้ย้ายจากวัดผาสุกาวาสไปอยู่ที่บางนรา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อันเป็นบ้านเดิมของท่าน แล้วถึงมรณภาพที่นั้น แล้ว พระอธิการฉุ้น ปญฺญาทีโป ผู้เป็นศิษย์ของท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา ต่อมา ในปีพุทธศักราช 2443 พระอธิการฉุ้น ปญญาทีโป ได้ไปบวชแปลงโดยญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต ที่วัดมัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.สงขลา แล้วได้ยกวัดนี้เป็นวัดธรรมยุต โดยท่านเองยังเป็นเจ้าอาวาสเช่นเดิม
แล้วมีเจ้าอาวาสสืบต่อกันมานับตั้งแต่เป็นวัดธรรมยุตมาแล้วจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
1. พระอธิการฉุ้น ปญฺญาทีโป ตั้งแต่ พ.ศ. 2443 ถึง พ.ศ. 2481
2. พระอธิการใหม่ ปชฺโชโต ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 245
3. พระเทพญาณเมธี ( สุระ ภูริปญฺโญ ป.ธ. 4 ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2496 (ย้ายไปอยู่วัดยะลาธรรมาราม จังหวัดยะลา)
4. พระครูวินัยธรวิญ ธมฺมกาโม ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2506
5. พระครูอรุณคุณาภรณ์ ( อรุณ อรุโณ ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2528
6. พระปลัดปัก ฐิตรตโน ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2529 ( รักษาการ )
7. พระครูสุทธศีลาภรณ์ สุทฺธสีโล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ ถึง พ.ศ. 2532
8. พระครูพิพัฒน์สิริชัย (เอื้อม สุเมโธ) ตั้งแต่ พ.ศ.2533 จนถึงปัจจุบัน
เพราะฉะนั้น วัดนี้ นับตั้งแต่สร้างมาตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2359 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2552 ก็เป็นเวลา 193 ปี แต่ถ้านับตั้งแต่เป็นวัดธรรมยุตมาตั้งแต่พุทธศักราช 2443 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2552) ก็เป็นเวลา 109 ปี
กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 1,676ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 287ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 5,163ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,092เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,218วิถีมุสลิมบ้านดอนขี้เหล็ก "ประเพณีการทูนพานอาหาร" ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี
8 มิถุนายน 2568 | 1,066เปิดตำนาน...ที่มาชื่อบ้านบ่อแดง อ.สทิงพระ
25 พฤษภาคม 2568 | 1,584ของดีของหรอยท่าเลออก ตลาดริมทางของผู้สัญจรผ่าน ณ สามแยกบ่อทราย (ปากรอ)
25 พฤษภาคม 2568 | 3,830