ตำบลเขาพระ เป็นพื้นที่ ที่ชาวหาดใหญ่รู้จักกันดี ด้วยสภาพของพื้นที่เป็นที่ราบ และเป็นภูเขาสูงทางทิศใต้ และทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำสายต่าง ๆ เช่น คลองลำแชง คลองลำขัน คลองรัตภูมิ เป็นต้น จำนวนหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน
หนึ่งในนั้นที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใชาวบ้าน คงต้องยกให้กับวัดถ้ำเขาพระ สงขลา ที่มีเรื่องราวประวัติความเป็นมาอย่างต่อเนื่อง วัดถ้ำเขาพระ ตั้งอยู่เลขที่ 313 หมู่ที่ 11 บ้านเขาพระ ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาวัดมีความสำคัญต่อคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัดส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชุมชนเพื่อเป็นศูนย์รวมของคนในท้องถิ่นและเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ซึ่งวัดในอดีตมีความสำคัญคือเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม เป็นสถานที่ฟังเทศน์ฟังธรรม ชาวบ้านต้องไปทำบุญที่วัดทุกวันพระ ถ้ามีการประชุมหารือกันจะใช้วัดเป็นสถานที่ประชุม เป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนและการจัดงานบุญงานกุศลก็มักจะจัดกันที่วัด ชีวิตคนไทยสมัยก่อนจึงผูกพันกับวัดตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
จะเห็นว่าวัดแต่ละแห่งถูกสร้างขึ้นอย่างงดงามตามศิลปะและสถาปัตยกรรมในแต่ละสมัย วัดจึงเป็นโบราณสถานที่สำคัญแสดงถึงประวัติศาสตร์ในยุคนั้น ๆ ปัจจุบันความสำคัญของวัดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ผู้ที่หลงใหลในวัฒนธรรมและศาสนา คงจะคุ้นเคยกับวัดที่อยู่ในถ้ำ หรือ วัดถ้ำเขาพระ ในที่นี่จะพูดถึงวัดถ้ำเขาพระในจังหวัดสงขลา เป็นวัดถ้ำเก่าแก่แห่งหนึ่งของตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดสงขลา
ชุมชนเขาพระเป็นแหล่งพหุวัฒนธรรมแห่งหนึ่งมีทั้งชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 150 ปี มาแล้ว ได้มีการพบพระพุทธรูป ปางมารวิชัย 3 องค์ ภายในถ้ำ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีอายุหลายร้อยปี เมื่อประชาชนมาพบเข้าก็ได้ทำการบูรณะ และสร้างวัดขึ้นมา โดยมีนายเอิบ เพ็ชรมาศ บริจาคที่ดินและดำเนินการสร้างวัด ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดจากทางราชการวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2521 วัดถ้ำเขาพระ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณ พ.ศ. 2523
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการระเบิดหินภูเขาเพื่อนำไปใช้ทำถนน และได้พบถ้ำภายในถ้ำมีพระพุทธรูป 3 องค์ ซึ่งไม่มีเศียร หลังจากนั้นได้มีพระธุดงค์มาปักกลดจำศีลที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านมีชื่อว่าหลวงพ่ออินทร์
จากนั้นได้มีผู้คนในพื้นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงพ่ออินทร์ นางนิ่มและนางน้อยซึ่งเป็นเจ้าของทีดิน ณ บริเวณ ถ้ำแห่งนี้ได้ถวายที่ดินบริเวณนั้นให้หลวงพ่ออินทร์ สร้างเป็นที่พักสงฆ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2450 ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างเป็นสำนักสงฆ์ โดยตั้งชื่อว่า“สำนักสงฆ์นิ่มนางน้อย” ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะพระพุทธรูป 3 องค์ ที่พบ โดยสร้างเศียรขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เป็นที่เคารพบูชาแก่คนในหมู่บ้าน
ขอบคุณภาพข้อมูล : Nationblog , OKnation Dek-arch ,พุทธาคม ปาฏิหาริย์อำนาจบุญ อริยะเหนือโลก
กว่า 92 ปี "ป่าช้าต้นโพธิ์" เริ่มก่อสร้างในปี 2472 กับประเพณีการ “เข้าบัว” หรือ “การไหว้บรรพบุรุษ”
24 มกราคม 2564 | 1,126ชาวหาดใหญ่ทราบหรือไม่? โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำสวนสาธารณะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวงร.9 เพื่อแก้น้ำท่วมให้แก่ราษฎรบริเวณบ้านคอหงส์และชุมชนหน้าค่ายเสนาณรงค์
24 มกราคม 2564 | 867คฤหาสน์เก่าแก่ 100 กว่าปี ของตระกูล สุวรรณรัตน์ ชุมชนสทิงหม้อ
24 มกราคม 2564 | 345รูปเก่าเล่าอดีต (รูปถ่ายของก๋งที่ถูกลืม) หาดใหญ่
10 มกราคม 2564 | 1,232ประวัติเมืองสงขลา "บ้านน้ำกระจาย" "สถานีรถไฟน้ำกระจาย"
10 มกราคม 2564 | 1,150จากสถานีรถไฟโคกโพธิ์ สู่ สถานีรถไฟปัตตานี
10 มกราคม 2564 | 1,224โรงเรียนสตรีแห่งแรกในอำเภอหาดใหญ่ "โรงเรียนสตรีหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา"
3 มกราคม 2564 | 1,376"Memory PSU" ย้อนเวลาม.อ. ในอดีต
3 มกราคม 2564 | 977