กลับมาพบกับคอลัมน์วิถีชีวิต ของหาดใหญ่โฟกัส กันอีกครั้งหนึ่งในเดือนธันวาคมส่งท้ายปี วันนี้เรามีเรื่องราวของคนในพื้นที่จังหวัดสงขลาที่เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของใครหลาย ๆ คน เป็นคนเก่งที่พยายามพัฒนาและปรับตัวอยู่เสมอ ว่าไปแล้วอย่ารอช้ากันเลย เราไปทำความรู้จักกับผู้ชายคนนี้เลยดีกว่า
พี่ดนัย โต๊ะเจ จบปริญญาตรี เอกภาษาอังกฤษ โทภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ปริญญาโทบริหารจัดการการบิน มหาวิทยาลัยนครพนม อดีตพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินแห่งชาติ
พูดถึงมุมมองคำว่าสงขลา ผ่านความคิดของคุณดนัย
ตัวผมเองชื่นชอบในเมืองเก่าสงขลาตั้งแต่ครั้งแรกๆที่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยียนเมืองแห่งนี้เมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว แต่ไม่เคยคิดที่จะมาอยู่ อาศัย จนกระทั่งได้มีโอกาสซื้อบ้านในเมืองเก่าจากการชักชวนของเพื่อนเก่าสมัยมัธยม และเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาได้เกษียณตัวเองก่อนกำหนดออกจากงานการบิน เลยได้มาที่สงขลาเพื่อซ่อมแซมบ้านที่ซื้อไว้และปรับเปลี่ยนเป็นที่พักนักท่องเที่ยว"บ้านในนคร" และพักอาศัยไปด้วยจนถึงปัจจุบัน
แนวคิดในการดำเนินงานของเรามันมาจากอะไรบ้าง
สงขลาเป็นเมืองที่มีสเน่ห์และร่ำรวยไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มคน 3 วัฒนธรรม ไทยพุทธ ไทยจีนไทยมุสลิม ที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาอย่างยาวนาน และมีหลักฐานทิ้งไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาอยู่มากมายเต็มเมือง ทำให้เมืองมีความน่าสนใจและน่าค้นหา ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ อาคารบ้านเรือน วิถีชีวิตผู้คน อาหารการกิน ที่มีเอกลักษณ์ อีกทั้งที่นี่มีสถานที่ตั้ง และภูมิประเทศรายล้อมด้วยธรรมชาติที่สวยงาม ประกอบไปด้วยแหลมเมืองที่ยื่นยาวขนาบด้วย 2 ทะเล คือทะเลสาปสงขลาด้านฝั่งตะวันตกและทะเลอ่าวไทยด้านฝั่งตะวันออก มีภูเขาอยู่กลางเมือง
มีชายหาดติดเมืองทอดยาวตลอดฝั่งตะวันออกและมีพื้นที่ติดน้ำสาธารณะมากมายรอบเมือง ทำให้คนเมืองสามารถทำกิจกรรมที่หลากหลายได้อย่างสะดวก ความสะดวกที่เคยชินทำให้ชาวเมืองไม่อยากที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองมากนัก ส่งผลให้คนสงขลาส่วนใหญ่มีใจอนุรักษ์และ ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆและระมัดระวัง กลายเป็นลักษณะพิเศษของคนและเมืององสงขลาในปัจจุบัน สงขลามีศักยภาพมากในด้านการท่องเที่ยว สิ่งทีกล่าวมาทั้งหมดคือต้นทุนที่สำคํญ ที่สร้างสเน่ห์ให้เมือง
-บ้านนครในสำหรับผม หรือพื้นที่ในสงขลา ยังต้องการจัดการที่ดีและการเจียรนัยสิ่งที่มีให้เห็นคุณค่าชัด ๆ มากขึ้น พร้อม ๆ กับควบคุมให้เป็นการท่องแบบมีคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ เพราะเมืองสงขลามีขนาดไม่ใหญ่นัก ร้อยละ60ของพื้นที่เป็นหน่วยงานราชการ อีกเพียงแค่ร้อยละ 40 เป็นพื้นที่การค้าและอยู่อาศัยรวมถึงพื้นที่เมืองเก่าสงขลาด้วย
โดยเฉพาะพื้นที่เมืองเก่าสงขลาซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ถนนหนทางคับแคบ จำเป็นต้องมีการจัดการจราจรที่มีประสิทธิภาพและเตรียมสถานที่จอดรถรองรับให้เพียงพอ พร้อมๆกับการเตรียมระบบขนส่งสาธารณะขนาดเล็กให้มีเพียงพอ สะดวก และทั่วถึง เช่นการจัดรถเวียนขนาดเล็กหลายสายให้ผู้คนสามารถขึ้นลงตามจุดที่น่าสนใจของเมืองได้อย่างสะดวก ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว รวมถึงการส่งเสริมการใช้จักรยาน ในรอบปี
สงขลามีกิจกรรมทางศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬา ที่ทำเป็นประจำอยู่แล้วล้วนน่าสนใจ เช่นการชักพระทางบกทางน้ำ งานสมโภชหลักเมือง ถนนคนเดิน ตลาดวันอาทิตย์ และตลาดอื่นๆเป็นต้นล้วนน่าสนใจที่น่าสนใจ หากสามารถรวบรวมลงปฎิทินของเมืองพร้อมทั้งใส่รายละเอียดให้ได้มากที่สุดจะทำให้ผู้สนใจสามารถเตรียมการมาเยือนสงขลาได้สะดวกมากขึ้น กลับมาที่."บ้านในนคร" ที่พักแห่งนี้
ผมลงมือซ่อมแซมปรับปรุงและตบแต่งโดยใช้ช่างในพื้นที่ ค่อยๆทำไป คิดไป แก้ไขไป เน้นการปรับใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วในบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เติมสีสันและเครื่องตบแต่งจากข้าวของที่สะสมมาก่อนหน้านี้ ให้มีบรรยากาศย้อนยุค แต่สดใส แต่งเติมด้วยงานศิลปะกระเบื้องโมเสกที่ผมถนัดและทำอยู่ก่อนแล้วเป็นงานอดิเรก ลงมือทำเองในหลายๆจุดของบ้าน การใช้ผ้าปาเต๊ะ มาตัดต่อตบแต่งส่วนต่างๆของห้องพักทำให้บ้านมีเอกลักษณ์ สะท้อนถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมของคน3 กลุ่มในเมืองเก่าสงขลาได้เป็นอย่างดี
-บ้านนครในมีการจัดการอย่างไรอย่างไรบ้านนครใน มีจุดเด่นยังไง ในการสร้าง เพราะเป็นที่รู้จักทั่ว ดารา ต่างชาติก็เลือกที่นี่
สิ่งหนึ่งที่ทำให้บ้านแห่งนี้มีความโดดเด่น แขกที่มาพักชื่นชอบ คือสวนข้างบ้านที่ปูด้วยเศษอิฐที่เหลือจากการซ่อมแซมบ้านและของประดับจากสิ่งของรีไซเคิลทำให้ดูแปลกตาไม่ซ้ำใคร มีการแขวนเฟิร์นและกระเช้าสีดาให้ดูร่มรื่นและพริ้วไหวเมื่อมีลมพัดมา สวนนี้ตั้งใจให้เป็นจุดพักสายตา และใช้เป็นที่รับประทานอาหารเช้าอีกด้วย การทำที่พักของเราไม่ได้เน้นเป็นธุรกิจมากมาย ขอเพียงแค่ ให้เราสามารถอยู่ได้ ได้มีส่วนเล็กๆในการทำให้เมืองฟื้นขึ้นมามีชีวิตชีวา และได้ใช้ประสบการที่มีมาใช้ในการต้อนรับผู้มาเยือน ความสุขที่เราได้รับจากการมาอยู่อาศัย ณ ที่แห่งนี้
-เอกลักษณ์เด่นของสิ่งที่เราทำ การมองในระยะยาว การส่องต่อฝันให้คนอื่น เพื่อประสบความสำเร็จ
ตอนนี้เราพยายามแบ่งเวลาตอบแทนสังคมในรูปแบบของการทำงานร่วมกับชุนชน เช่น การทำสวนแบ่งปัน การช่วยเป็นผู้ประสานร่วมมือกับชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ การให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมแก่ผู้ที่สนใจ สิ่งเล็กๆน้อยที่เราทำอยู่เสมอ คือการให้คำปรึกษาแก่เพื่อนบ้านในการทำหน้าบ้านให้น่ามอง การแลกเปลี่ยนพันธุ์ไม้ให้กันและกัน การทำให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมายกกล้องถ่ายรูปหน้าบ้านเราอย่างสนุกสนานและมีความสุข เป็นสิ่งที่เราแอบภูมิใจตลอดมาครับ
"พี่ปุ้ย" สาวสองสู้ชีวิตผู้มีลีลาสาธิตการขายร่ม จนเป็นกระแสดังในโซเชียลทั้งไทยและมาเลย์
6 พฤษภาคม 2568 | 313"ครูทอง" ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการปั้นหม้อยาวนานกว่า 100 ปี ของบ้านสทิงหม้อ อ.สทิงพระ
24 มีนาคม 2568 | 615“เชือกกล้วยตานี” จากของเหลือทิ้ง สู่ผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้ชุมชนคูเต่า ภายใต้ชื่อ “กอร์ตานี”
19 มีนาคม 2568 | 703ชีวิตหลังเกษียณของอดีตฯ ผู้ว่าฯ สงขลา ผันตัวเองป็นเกษตรกรสวนทุเรียนกว่า 400 ต้น
3 มีนาคม 2568 | 22,877ตาผิน ผู้ประดิษฐิ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ สู่สินค้าโอท็อปประจำอำเภอรัตภูมิ
2 มีนาคม 2568 | 693"ธนกร"กุ้ยช่าย สูตรลับจากคุณแม่ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน เลี้ยงครอบครัวกว่า 45 ปี ออเดอร์ไกลถึงสหรัฐฯ
6 กุมภาพันธ์ 2568 | 693"เกียว"เบเกอรี่จากรุ่นแม่สู่คุณลูก กว่า 30 ปี ร้านขนมปังเล็กๆที่ไม่ธรรมดาในสะเดา
8 ธันวาคม 2567 | 2,493ช่างนวล ควนเนียง ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานบนผืนหนัง
24 พฤศจิกายน 2567 | 1,389