ไหนเอ่ย ขอเสียงคนจะนะที่เคยได้ยินคำว่า "ป้ายแกงเวร" ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะงงว่าคำนี้มีความเป็นมาอย่างไร และหมายถึงอะไร วันนี้ทาง หาดใหญ่โฟกัส จึงมีประวัติของคำว่าป้ายแกงเวร มาให้ทุกคนท่านได้ทำความรู้จักกันนั่นก็คือ ป้ายแกงเวรภูมิปัญญาของคนน้ำขาวที่เหลือไว้แต่ควาทรงจำ" ป้ายแกงเวรคือ การมอบหมายความรับผิดชอบในการดูแลเรื่องอาหาร โดยเฉพาะแกงหนึ่งหม้อควงเขียวต่อหนึ่งครัว สำหรับเลี้ยงพระของแต่ละหมู่บ้านขึ้น
โดยแบ่งให้รับผิดชอบกันเป็นวัน ๆ เช่นวันจันทร์หมู่บ้านใดรับผิดชอบ หมู่บ้านนั้นก็จำต้องมาแบ่งเวรย่อยกันอีกเป็นกลุ่ม ๆ ภายในหมู่บ้านของตนเอง อาจจะกลุ่มละ 2-3 ครอบครัวต่อครั้ง ก็แล้วแต่จะตกลงกัน พอวันจันทร์ถัดไปก็หมุนเวียนภารกิจ ดังกล่าวกันไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็จะกลับมาครบรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง หมุนเวียนสลับกันไปตลอดไม่มีการหยุด หากหยุดหรือเกิดลืมวันใด วันนั้น “พระต้องอด” ด้วยข้อกำหนด ข้อตกลงที่เกิดจากความยึดมั่น เชื่อมั่นในหลักการของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ของคนน้ำขาวที่ “กลัวพระจะไม่ได้ฉัน” นี้เอง
ป้ายแกงเวรจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นสารแทนจดหมายเป็นสื่อแทนคำบอกกล่าว กันลืม ! จากครอบครัวหนึ่ง สู่อีกครอบครัวหนึ่ง เป็นบ่วงคล้องเกี่ยวต่อเนื่องกันไปเป็นวงกลม ในบ่วงดังกล่าวจะแฝงความศรัทธา ในพุทธศาสนา สัจจะต่อข้อตกลงแลความรับผิดชอบความสามัคคี ในหมู่คณะไว้ด้วยอย่างแนบแน่น ด้วยกุศลโลบายที่แฝงไปด้วยความละเอียดอ่อน ลุ่มลึก มองเห็นทะลุถึงบาปและบุญที่เป็นรูปธรรมเพียงวันเดียว ไม่ต้องรอถึงชาติหน้าตอนบ่าย ๆ “ ใครลืมแกงเวร ทั้ง ๆ ที่ป้ายแขวนอยู่หน้าบ้าน บาปที่เชื่อว่ามีจริง ก็จะปรากฏให้เห็นในพริบตา คำติฉินนินทา ความเชื่อถือจากเพื่อนบ้าน ก็จะหมดไปในบัดดล
ทุกคนจึงถือว่าป้ายแกงเวร คือ สัญลักษณ์หรือใบบอกบุญที่ใครจะมาละเมิดหาได้ไม” ป้ายแกงเวร จึงเป็นภูมิปัญญาที่คนน้ำขาวรวมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารทางใจ สู่กันและกัน ป้ายแกงเวร คือ E-mail Address ของคนรุ่นก่อนที่คิดค้นขึ้น เพราะกลัวพระจะไม่ได้ฉัน
ซึ่งคนน้ำขาวรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสได้สัมผัสอย่างแท้จริง ปัจจุบัน ป้ายแกงเวร ถูกแขวนไว้อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีใครรู้ที่มา และความหมาย อันเป็นในสำคัญทางเทือกเถาเหล่าก่อที่แท้จริงของคนน้ำขาว โลกของการสื่อสารไร้พรมแดน โลกของการบริโภคทรัพยากรอย่างบ้าคลั้ง โลกของการเอารัดเอาเปรียบ โลกของเล่หลี่ยมคนโกง ที่เราเรียกว่า “ระบบไฮเทค” เทียบไม่ได้กับไม้กระดานแผ่นเดียว คือ “ป้ายแกงเวร” ของคนน้ำขาว ที่ถูกสร้างขึ้นเพียงเพื่อวัตถุประสงค์ซื่อ ๆ ตรงไปตรงมา กลัวพระจะไม่ได้ฉันท์ แต่กลับแฝงไว้ด้วยพลังของความศรัทธา สัจจะที่แท้จริงและความสามัคคีในหมู่คณะที่ยั่งยืน ที่โอบอุ้มชุมชนน้ำขาวให้เป็นชุมชนที่แข็มแข็งมาจนถึงปัจจุบัน
ขอบคุณภาพข้อมูล : มุขปาฐะน้ำขาวblog , นายเจิน จันทร์เพชร
กว่า 92 ปี "ป่าช้าต้นโพธิ์" เริ่มก่อสร้างในปี 2472 กับประเพณีการ “เข้าบัว” หรือ “การไหว้บรรพบุรุษ”
24 มกราคม 2564 | 288ชาวหาดใหญ่ทราบหรือไม่? โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำสวนสาธารณะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวงร.9 เพื่อแก้น้ำท่วมให้แก่ราษฎรบริเวณบ้านคอหงส์และชุมชนหน้าค่ายเสนาณรงค์
24 มกราคม 2564 | 187คฤหาสน์เก่าแก่ 100 กว่าปี ของตระกูล สุวรรณรัตน์ ชุมชนสทิงหม้อ
24 มกราคม 2564 | 266รูปเก่าเล่าอดีต (รูปถ่ายของก๋งที่ถูกลืม) หาดใหญ่
10 มกราคม 2564 | 1,194ประวัติเมืองสงขลา "บ้านน้ำกระจาย" "สถานีรถไฟน้ำกระจาย"
10 มกราคม 2564 | 1,124จากสถานีรถไฟโคกโพธิ์ สู่ สถานีรถไฟปัตตานี
10 มกราคม 2564 | 1,199โรงเรียนสตรีแห่งแรกในอำเภอหาดใหญ่ "โรงเรียนสตรีหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา"
3 มกราคม 2564 | 1,339"Memory PSU" ย้อนเวลาม.อ. ในอดีต
3 มกราคม 2564 | 968