เขาลูกนี้มีป่ามากมาย หลากหลายด้วยพืชพรรณให้เก็บกิน ลำธารใสให้ชาวบ้านและสัตว์เลี้ยงได้ดื่มกิน สัตว์ป่าน้อยใหญ่คงได้ชุ่มฉ่ำในยามค่ำคืน เมื่อข้าพเจ้ายังเด็กคงพูดไปตามประสาว่าพ่อแม่ตัดไม้ทำลายป่าตามที่คุณครูได้สอนมา แต่คำพูดของพี่ชายยังก้องอยู่ไม่จาง ว่า ยางพาราคือการปลูกป่าทดแทน อนิจจา เพราะเรายังเด็กกันทั้งคู่ พ่อแม่ก็แค่ชาวบ้านที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ ด้วยผืนป่าที่มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทุกวันนี้เมื่อล่วงเวลามา ข้าพเจ้าไม่เคยย้อนถามพี่ชายถึงเรื่องป่าในวันนั้นที่ยัง
จำได้ดี เพราะต่างคนก็ต่างรู้ดีว่า ยางพารา คุณค่าห่างไกลกับไม้ใหญ่ที่ล้มลงมาก นึกถึงวันนั้นเมื่อเกือบสามสิบปีที่ผ่านมา ยังจำเสียงเลื่อยยนต์ร้องคำรามอยู่ไม่ถึง 20 นาที ต้นไม้ใหญ่กว่าคนโอบลำต้นสูงใหญ่ ล้มครืนลงมา พวกเราเหล่าเด็ก ๆ ต่างรีบกระโจนกันเข้าไปสำรวจ โดยไม่ฟังเสียงผู้ใหญ่ที่ร้องห้ามอยู่ใกล้ ๆในไม่ช้าก็ปีนกันขึ้นไปคนละกิ่งใหญ่ ๆ ขย่ม เขย่า กันอย่างเริงร่า บ้างก็โดนมดแดงกัดขาแต่ก็ยังร่าเริง ในพื้นที่ถูกเผาเตียนไม่เว้นกระทั่งตอ เพื่อขุดหลุมวางกล้ายางพาราเกือบทั่วบริเวณทั้งภูเขา ค่อย ๆ ตัด ค่อย ๆ เผากันไปทีละ 4-5 ไร่
บนภูเขาเดียวกันผืนป่าเขียวขจีโอบล้อมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ ข้าพเจ้าเคยไปไหว้เมื่อตอนเด็ก ๆ ทวดช้าง (ตามคำชาวบ้านเรียกขาน ก้อนหินรูปช้างคอขาด เล่าต่อกันมาว่า ทหารพม่าตัดคอช้างขาดเป็น 2 ท่อนที่บริเวณนี้) เป็นสิ่งที่ชาวบ้านนับถือ บูชา กราบไหว้ บนบาน กันมานานนม ตั้งอยู่ ณ ควนช้าง(ควน หมายถึงภูเขาเตี้ยๆ) บ้านหมู่ 2 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ทุกแรม 6 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบ ๆ จะนำข้าวปลาอาหารจัดแจงใส่ปิ่นโตกันมาเกือบทุกครอบครัว เป็นการบูชา ขอขมา บนบาน และแก้บน ทำติดต่อกันเรื่อยมาเป็นประจำทุกปี (นับตั้งแต่ข้าพเจ้าจำความได้) แต่ภาพของป่าเขียวผืนใหญ่ที่ไม่เคยมีใครกล้ารุกล้ำทำลายบัดนี้เหลือเพียงไม้ใหญ่ไม่กี่ต้น ยืนให้ร่มเงาแด่ผู้มีจิตศรัทธา
ภาพของป่าแปรเปลี่ยนไปจากที่เคยเป็น สวนยางพาราพืชเศรษฐกิจครอบคลุมพื้นที่เกือบหมดภูเขา ไม่มีไม้ใหญ่ให้เห็นนอกจากบริเวณรอบ ๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ราคาที่พุ่งสูงของยางพาราเปรียบเหมือนกระแสคลื่นสึนามิที่ถาโถมมา ถึงกระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนภูเขาเล็กๆ แห่งนี้ พัดพาต้นไม้ใหญ่ให้ล้มหายไปแต่ยัง โชคดีที่ความศรัทธาที่ไม่ได้มีน้อยไปกว่าเดิม ทุกวันนี้ทวดช้างยังคงนอนนิ่งสงบ ดูน่าเกรงขาม เก็บรักษากลิ่นอายของอดีตที่ยาวนานเท่าใดไม่มีใครรับรู้ได้ ช่วยรักษาลูกหลานของป่าผืนใหญ่ไว้ได้ แม้เพียงไม่กี่ต้น
ขอบคุณข้อมูล : changyai
กว่า 92 ปี "ป่าช้าต้นโพธิ์" เริ่มก่อสร้างในปี 2472 กับประเพณีการ “เข้าบัว” หรือ “การไหว้บรรพบุรุษ”
24 มกราคม 2564 | 231ชาวหาดใหญ่ทราบหรือไม่? โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำสวนสาธารณะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวงร.9 เพื่อแก้น้ำท่วมให้แก่ราษฎรบริเวณบ้านคอหงส์และชุมชนหน้าค่ายเสนาณรงค์
24 มกราคม 2564 | 185คฤหาสน์เก่าแก่ 100 กว่าปี ของตระกูล สุวรรณรัตน์ ชุมชนสทิงหม้อ
24 มกราคม 2564 | 261รูปเก่าเล่าอดีต (รูปถ่ายของก๋งที่ถูกลืม) หาดใหญ่
10 มกราคม 2564 | 1,189ประวัติเมืองสงขลา "บ้านน้ำกระจาย" "สถานีรถไฟน้ำกระจาย"
10 มกราคม 2564 | 1,123จากสถานีรถไฟโคกโพธิ์ สู่ สถานีรถไฟปัตตานี
10 มกราคม 2564 | 1,198โรงเรียนสตรีแห่งแรกในอำเภอหาดใหญ่ "โรงเรียนสตรีหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา"
3 มกราคม 2564 | 1,337"Memory PSU" ย้อนเวลาม.อ. ในอดีต
3 มกราคม 2564 | 968