"ทะเลสาบสงขลา" เป็นทะเลแบบ "ลากูน" หนึ่งเดียวของประเทศไทย หนึ่งเดียวใน 117 แห่งทั่วโลก ลากูน Lagoon คือ แหล่งน้ำตื้น พบในบริเวณชายฝั่งทะเลที่แยกจากทะเลโดยการกั้นของเนินทรายซึ่งอาจจะเปิดออกสู่ทะเลเป็นระยะๆ ลากูนสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลโดยที่บางส่วนเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ (Estuary lagoon) หรือไม่มีผลจากแม่น้ำก็ได้ ทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่งมีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็มอยู่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์อยู่ตลอดเวลา
ดินแดนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันคือพื้นที่ของจังหวัดพัทลุง อำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอรัตภูมิ จากหลักฐานของแผนที่ของชาวต่างประเทศ พื้นที่บริเวณนี้ พ.ศ. 2000 มีลักษณะแตกต่างจากปัจจุบันมากพอสมควร โดยเฉพาะบริเวณอำเภอหัวไทร อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร บริเวณนี้แต่เดิมเป็นเกาะสองเกาะ คือพื้นที่ในส่วนอำเภอหัวไทรไปจนถึงอำเภอสิงหนครซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่
ส่วนเกาะขนาดเล็กก็คือ "เกาะใหญ่" ในปัจจุบัน อันเกิดจากระดับน้ำที่ลดลงทำให้พื้นที่ดินเดิมใต้ผิวน้ำโผล่ขึ้นมาเป็นภูเขาเตี้ย ๆ ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเอาทรายทะเลมาทับถมทางด้านซีกตะวันออกของภูเขา ทำให้เกิดสันทรายงอกออกไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ซีกตะวันตกของภูเขาก็เกิดดินตะกอนที่ลำน้ำสายสั้น ๆ คือ คลองนางเรียม คลองปากประ คลองลำปำ คลองท่าเดื่อ คลองอู่ตะเภา และแม่น้ำสายยาวที่พาดจากจังหวัดสตูลไหลออกทะเลที่บริเวณทะเลสาบตอนในในปัจจุบัน
ทำให้แผ่นดินทั้งสองด้านงอกออกไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเกาะขึ้น ซึ่งภายหลังเกาะนี้ก็ได้กลายเป็นที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินเป็นชุมชนหนาแน่นเพราะมีความเหมาะสมที่จะเป็นท่าเรือ และสามารถกำบังลมได้เป็นอย่างดี แม้แผ่นดินทางด้านทิศเหนือจะงอกออกไปจนติดเป็นแผ่นดินเดียวกันแล้ว บริเวณเกาะซึ่งพัฒนาเป็นแหลมก็ยังคงเป็นชุมชนที่หนาแน่นยิ่งขึ้น เมื่อน้ำในทะเลสาบตอนในเปลี่ยนเป็นน้ำจืด เพราะได้รับอิทธิพลจากน้ำในลำคลองที่ได้กล่าวถึงข้างต้นมากกว่าน้ำทะเล
พื้นที่โดยรอบของทะเลสาบจึงเริ่มกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากบริเวณนี้มีดินตะกอนทับถมกันมากซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก จึงกลายเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันตก หรือพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงในปัจจุบัน ขณะเดียวกันทะเลสาบที่เกิดขึ้นก็เป็นแหล่งของสัตว์น้ำนานาชนิดด้วย
ส่วนบริเวณตอนบนหรือแถบต้นน้ำเชิงเขาก็เป็นเขตป่าที่มีป่าดงดิบขึ้นปกคลุมหนาแน่น จึงมีผลผลิตจากป่าจำนวนมาก เช่น หวาย ไม้ไผ่ สมุนไพร งาช้าง เครื่องหนัง เขาสัตว์ และของป่า อื่น ๆ ซึ่งของพวกนี้พ่อค้าชาวจีนและอินเดียต้องการมาก พ่อค้าชาวจีนและอินเดียจึงเดินทางเข้ามาค้าขายและนำเอาอารยธรรมเข้ามาเผยแพร่ในบริเวณคาบสมุทรมลายูและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
กว่า 92 ปี "ป่าช้าต้นโพธิ์" เริ่มก่อสร้างในปี 2472 กับประเพณีการ “เข้าบัว” หรือ “การไหว้บรรพบุรุษ”
24 มกราคม 2564 | 252ชาวหาดใหญ่ทราบหรือไม่? โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำสวนสาธารณะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวงร.9 เพื่อแก้น้ำท่วมให้แก่ราษฎรบริเวณบ้านคอหงส์และชุมชนหน้าค่ายเสนาณรงค์
24 มกราคม 2564 | 185คฤหาสน์เก่าแก่ 100 กว่าปี ของตระกูล สุวรรณรัตน์ ชุมชนสทิงหม้อ
24 มกราคม 2564 | 261รูปเก่าเล่าอดีต (รูปถ่ายของก๋งที่ถูกลืม) หาดใหญ่
10 มกราคม 2564 | 1,189ประวัติเมืองสงขลา "บ้านน้ำกระจาย" "สถานีรถไฟน้ำกระจาย"
10 มกราคม 2564 | 1,123จากสถานีรถไฟโคกโพธิ์ สู่ สถานีรถไฟปัตตานี
10 มกราคม 2564 | 1,198โรงเรียนสตรีแห่งแรกในอำเภอหาดใหญ่ "โรงเรียนสตรีหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกันยา"
3 มกราคม 2564 | 1,337"Memory PSU" ย้อนเวลาม.อ. ในอดีต
3 มกราคม 2564 | 968