หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ภาพย้อนอดีต กว่าจะมาถึงวันนี้ 36 ปี แห่งการก่อสร้าง "สะพานติณสูลานนท์"
4 ตุลาคม 2563 | 11,360

อีกหนึ่งเรื่องราวการย้อนอดีต ของการก่อสร้างสะพานติณสูลานนท์ สะพานแห่งนี้ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอเมืองสงขลา  และอำเภอสิงหนคร  โดยเชื่อมเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน้ำกระจาย  อำเภอเมืองสงขลา  และบ้านเขาเขียว อำเภอสิงหนคร  ความยาวของสะพาน  2  ช่วงแรก 940 เมตร และ 1,700  เมตร ตามลำดับรวมเป็น  2,640  เมตร ก่อสร้างขึ้นในสมัย ฯ พณฯ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 

จุดประสงค์ของการสร้างสะพานแห่งนี้  คือ การรองรับการคมนาคมทางรถยนต์  โดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ซึ่งมีไม่เพียงพอกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้การเดินทางต้องใช้เวลานาน ทั้งเมื่อข้ามฝั่งมาแล้วก็ยังทำให้การจราจรติดขัดในตัวเมืองอีกด้วย 

ดังนั้นในปี พ.ศ. 2524  รัฐบาลจึงมีนโยบายจะพัฒนาจังหวัดสงขลา และอำเภอหาดใหญ่ให้เป็นเมืองหลัก โดยกรมทางหลวงเป็นเจ้าของโครงการ และบริษัทจากประเทศไต้หวันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เปิดให้ใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2527

สะพานติณสูลานนท์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 4146 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างทางหลวงหมายเลข 4083 (ระโนด-เขาแดง) กับทางหลวงหมายเลข 407 (สงขลา-หาดใหญ่) ชาวจังหวัดสงขลานิยมเรียกสะพานนี้ติดปากว่า  สะพานติณ สะพานป๋าเปรม สะพานเปรม หรือสะพานเกาะยอ  และถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัด

 

ซึ่งในอดีตย้อนไปในช่วงเวลาวันที่ 29 กันยายน 2529 มีการเปิดใช้สะพานติณสูลานนท์ เมื่อ 34 ปีที่แล้ว วันนี้แอดมินเลยมีภาพแห่งความประทับใจ และค่อนข้างที่จะหาดูได้ยาก เพื่อย้อนอดีตก่อนการก่อสร้างสะพาน และตอนที่กำลังสร้าง รวมถึงมีภาพวัยโจ๋มายืนสร้างอรรถรสในการเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี

(ภาพระหว่างการก่อสร้าง)

และภาพนี้จัดว่าเป็นมิตรภาพของคนในพื้นที่เกาะยอ กับการสังสรรค์ตามประสาวัยรุ่นในยุค 90 ปัจจุบันหาชมได้ยาก

ภาพนี้กำลังก่อสร้างในการวางร่างโครงเหล็กของสะพาน โดยต้องใช้ผู้มีมีความชำนาญในการก่อสร้าง

 

เริ่มเป็นโครงแล้ว

หากใครยังจำภาพเหล่านี้ สามารถแสดงความคิดเห็นบอกเพิ่มเติมบอกต่อกันได้เลยจ้า 

 

 

หลังจากนั้นในเวลาต่อมา สะพานติณสูลานนท์ ก็ค่อย ๆ สร้างมาจนถึงปี 2529 และเปิดใช้อย่างถาวร ทำให้สะพานแห่งนี้กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เป็นอีกสะพานที่นักท่องเที่ยวต่างให้คำนิยามว่าสวยไม่แพ้สะพานที่ใดในโลก ที่มาพร้อมวีรบุรษุที่ชื่อว่า พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่มีส่วนร่วมในการก่อสร้างสะพานแห่งนี้ให้เกิดประโยชน์กับชาสงขลา

ขอบคุณภาพข้อมูล :TC Yang , Eak Tawesak Kliengkawnoo

เรื่องที่เกี่ยวข้อง