บนพื้นที่นากว่า 300 ไร่ ที่บ้านพังยาง ต.พังยาง อ.ระโนด จ.สงขลา นายไวศักดิ์ พลูสวัส อายุ 45 ปี ชาวบ้านพังยาง ต.พังยาง อ.ระโนด จากเดิมเคยทำนาปลูกข้าวในพื้นที่ของตัวเองมาหลายสิบปี ช่วงระยะหลังจากนาที่เคยทำได้ปกติ ก็ต้องหยุดทำ เนื่องจากทุ่งนาที่ปลูกข้าว ขณะที่กำลังเตรียมแปลงนาเพื่อการเพาะปลูก พบมีฝูงนกเป็ดหงส์ เข้ามาทำรังวางไข่ และมีชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงเข้ามาล่าเพื่อเป็นอาหาร ด้วยความห่วงว่านกเป็ดหงส์จะหายสูญพันธุ์ จึงได้ขึ้นป้ายรอบพื้นที่นาตัวเอง ห้ามล่านก ล่าสัตว์ในพื้นที่ กันเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เป็นที่อยู่อาศัยของนกเป็ดหงส์และนกน้ำนาชนิด
หาดใหญ่โฟกัส ได้มีโอกาสพูดคุย กับ “น้าไวศักดิ์” หนุ่มผู้มีใจอนุรักษ์ พูดกับเราด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม เล่าว่า ตลอดเวลาหลายสิบปีที่เห็นนกเป็ดหงส์ซึ่งเป็นนกหายาก ถูกล่าเป็นอาหาร คิดอยู่เสมอว่าสักวันสัตว์เหล่านี้คงหมดไป จึงได้กันพื้นที่นาตัวเอง 300 ไร่ ออกเป็นส่วนๆ แบ่งให้นกเป็ดหงส์ส่วนหนึ่ง และทำนาส่วนหนึ่ง แม้รายได้จากการทำนา จะลดไปแต่ด้วยใจอนุรักษ์ และความผูกพันธุ์ต่อนกเป็ดหงส์ ที่อยู่ด้วยกันทุกวัน “น้าไวศักดิ์” จึงยอมสูญเสียรายได้แลกกับความสุขที่ยิ่งใหญ่
ทุกๆ เช้า ตื่นมาจะเห็นนกเป็ดหงส์ออกมาหากิน ตนเองนั่งนับจำนวนในทุก ๆ วัน จากเดิมมีไม่กี่ตัวก็มีจำนวนมากขึ้น เห็นนกมีที่อยู่ เห็นนกไม่ถูกล่า ทำให้รู้สึกดีใจ เพราะอยากให้นกเป็ดหงส์ "อยู่คู่" อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา “น้าไวศักดิ์” ถือว่าเป็นความสุขทางใจ ที่หาซื้อไม่ได้ และตั้งใจจะอนุรักษ์นกเป็ดหงส์เหล่านี้ต่อไป ถึงแม้จะขาดรายได้จากการทำนาก็ตาม
สำหรับนกเป็ดหงส์ จัดว่าเป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลำตัวประมาณ 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำแถบบนปีกสีบรอนซ์สะดุดตา ตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ แถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบนขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและลำตัวสีทึบกว่า ไม่มีแถบสีดำสองแถบบนส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกอ่อนที่อายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ
นกเหล่านี้ มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ตั้งแต่ ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ ไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นอัสสัม, พม่า ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้อีกด้วย
การอาศัย จะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ซึ่งเป็นครอบครัวประมาณ 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ เมล็ดข้าว แมลงน้ำ และอาจกินสัตว์น้ำอย่างกบ, เขียด และปลาได้ด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของนกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่า ๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจาง ๆ จำนวน 7-15 ฟอง
ในประเทศไทย ถือเป็นนกที่หาได้ยากมาก และใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ส่วนพื้นที่ จ.สงขลา น้อยนักที่จะดูได้ ทั้งนี้หากใครต้องการเยี่ยมชมและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนกเป็ดหงส์ สอบถามข้อมูลเพิ่ม “นายไวศักดิ์ พลูสวัสดิ์” 087-899-5389
"งี่เที่ยนถ่อง" ร้านยาสมุนไพรไทย-จีน ที่ก้าวผ่านยุคสมัยกว่า 4 เจนเนอเรชั่น บนถนนสายประวัติศาสตร์ย่านเมืองเก่าสงขลา
20 มิถุนายน 2568 | 371เปิดประวัติชีวิต" ปลัดแป้น" จากนักปกครองสู่ว่าที่นายกหาดใหญ่ ชีวิตที่ไม่ง่ายหลังลงสมัครนายกกว่า 2 สมัย
15 พฤษภาคม 2568 | 2,172"พี่ปุ้ย" สาวสองสู้ชีวิตผู้มีลีลาสาธิตการขายร่ม จนเป็นกระแสดังในโซเชียลทั้งไทยและมาเลย์
6 พฤษภาคม 2568 | 2,777"ครูทอง" ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการปั้นหม้อยาวนานกว่า 100 ปี ของบ้านสทิงหม้อ อ.สทิงพระ
24 มีนาคม 2568 | 2,664“เชือกกล้วยตานี” จากของเหลือทิ้ง สู่ผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้ชุมชนคูเต่า ภายใต้ชื่อ “กอร์ตานี”
19 มีนาคม 2568 | 2,410ชีวิตหลังเกษียณของอดีตฯ ผู้ว่าฯ สงขลา ผันตัวเองป็นเกษตรกรสวนทุเรียนกว่า 400 ต้น
3 มีนาคม 2568 | 23,392ตาผิน ผู้ประดิษฐิ์สิ่งของจากวัสดุธรรมชาติ สู่สินค้าโอท็อปประจำอำเภอรัตภูมิ
2 มีนาคม 2568 | 889"ธนกร"กุ้ยช่าย สูตรลับจากคุณแม่ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน เลี้ยงครอบครัวกว่า 45 ปี ออเดอร์ไกลถึงสหรัฐฯ
6 กุมภาพันธ์ 2568 | 972