ต้องเกริ่นเล่าก่อนว่าประวัติความเป็นมาของตำบลชะแล้ ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อตั้งขึ้นเป็นชุมชนมากนัก แต่จากการสืบค้นเล่าต่อกันมาว่า มีอิสลามกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่แถวริมคลองในส่วนที่ติดกับทะเลสาบสงขลา
ซึ่งกลุ่มอิสลามนี้มีหัวหน้าชื่อ บังสะแล ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของคนในกลุ่ม ทุกคนมีอาชีพในการประมง หาปลา สัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาเพื่อเป็นอาหารและแลกเปลี่ยนซื้อขาย ทุกตอนเย็นหลังจากการทำงานประกอบอาชีพแล้ว
จะนำเรือกลับเข้ามาจอดรวมกันที่ท่าเรือหน้าบ้านของบังสะแลเป็นประจำทุกวัน ครั้นต่อมามีคนนับถือศาสนาพุทธเข้ามาอาศัยมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการรบกวนวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความเชื่อของอิสลาม จึงอพยพล่าถอยจากพื้นที่แห่งนี้ ไปอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง
เมื่อกลุ่มคนมุสลิมอพยพล่าถอยจากพื้นที่แล้ว การสัญจรโดยชาวไทยพุทธยังคงใช้ทางเรือและใช้ท่าเทียบเรือของบังสะแลเดิมอยู่ นานวันเข้าการเรียกชื่อท่าเทียบเรือได้กลายเป็นชื่อหมู่บ้านและผิดเพี้ยนเป็นบ้านชะแล้ จนถึงปัจจุบัน (ที่มา คัดลอกจากจดบันทึกจากหนังสือ โดย นายเหิม เพ็ชรจำรัส อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลชะแล้ ในปี 2548 )
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 119กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 110ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 119กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 2,078ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 378ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 6,159ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,202เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,334