คนสงขลายุคเก่า ๆ ดั้งเดิมเช่น คุณตาและคุณยาย (ปัจจุบันเสียชีวิตหมดแล้ว) จะเรียกเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร ว่า "เสด็จพระองค์ชายใหญ่" จากคำบอกเล่าที่คุณยายเล่าให้ฟังว่า ท่านเป็นคนเก่ง รักลูกน้อง แต่ดุมาก คนในปกครองเกรงกลัวในความ เฉียบขาดและตรงไปตรงมาของท่านและเมื่อได้อ่านพระราชประวัติของท่าน จึงได้รับรู้ว่าท่านทำอะไร ๆ ให้สงขลาให้หัวเมืองทางใต้ไว้มากมายตลอด 15 ปี ที่ ท่านทรงงานอยู่ที่สงขลาทรงปกป้องแผ่นดินไทยทางภาคใต้ ให้พ้นจากภัยคุกคามจากอังกฤษตลอดจนปูพื้นฐานทางปกครอง คมนาคม และการสาธารณสุข ทรงสร้างพระตำหนักเขาน้อยสถาปัตยกรรมแบยทรงยุโรปท่านให้แนวคิดว่า จะให้ฝรั่งดูถูกดูแคลนคนไทยไม่ได้ เพื่อความทัดเทียมของประเทศสยาม นามพระองค์ท่านคือ....
พลเอก สมด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีรามศร์ ต้นราชสกุลยุคล ทรงเป็นพระราชโอรส องค์ที่ 41 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาลินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา(ธิดากรมหมื่นภูมินทร์ภักดี) พระอัครชายา พระมเหสี อันดับที่ 4 แต่เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 1 ในพระวิมาดาเธอฯ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2452 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4 ณ.ตำหนักสวนบัว ภายในพระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานนามว่า "พระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพรบดินทรเทพนิพัทธ์ขัตติยราชกุมาร"
"เจ้าฟ้า" แสดงถึง ฐานะขณะประสูติ จะเรียกกันว่าพระองค์ชายหรือพระองค์หญิง หลังจากสมโภชน์เดือนหรือขึ้นพระอู่ (ขึ้นเปล) แล้วพระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดเกล้า ยกพระเกียรติขึ้นเป็น "เจ้าฟ้า" ตามพระยศของพระเจ้าอยู่หัวกับพระยศของพระมารดว่า สมควรจะทรงยศในระดับใด สำหรับเจ้านายพระองค์นี้ หลังจากสมโภชเดือนแล้วพระบาทสมเด็พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน
พระนามว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าฑิฆัมพร บดินทรเทพยนิพทธ ขัตติยกุมาร"
ต่อมาในปี พศ. 2935 วันที่ 17 มีนาคม พระเจ้า ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทิฆัมพรฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 10 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าๆให้มีการเฉลิมพระนามใหม่พร้อมกับ "ทรง-กรม" เป็น"สมเด็จ-เจ้าฟ้า-กรมหมื่น" ดังนี้คือ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร จุฬาลงกรณราชรวิวงศ์ อุทัยพงษ์พิสุทธิ์วรุตโมภ์โตสุชาติ บรมนฤนาทราชกุมาร กรมหมื่นลพบุราดิศร"ทรงศักดินา 40,000 ไร่ และในปี 2468 สมัยรัชกาลที่7 ทรงเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศว์ ทรงศักดินา 50,000 ไร่
พระประวัติโดยสังเขป พ.ศ.2436 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหมื่นลพบุราดิศร ทรงเข้าสโมสราชกุมาร ที่มีราชกุมารทุกระดับชั้นยศเป็นสมาชิกร่วมทรงกระทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่นการกีฬา การละเล่น การแสดงละคร การฝึกหัดทหารการเรียนภาษาไทย การเรียนภาษาอังกฤษ การตามเสด็จพระราชดำเนินตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงโปรดเกล้าๆ ให้เสด็จด้วย การร่วมงานประเพณี การทรงรับแขกเมืองและอื่น ๆ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหมื่นลพบุราดิศได้ทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษทั้งระดับม้ธยมและอุดมศึกษา รวมเวลา10 ปีเต็มทรงสำเร็จการศึกษารัฐศาสตร์การปกครอง วิชาประวัติศาสตร์ (เกียรตินิยม)ระดับปริญญาตรีและปริญญาโททางด้นอักษรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจและเสด็จกลับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2449 ขณะทรงมีพระชนมายุ 24 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหมื่นลพบุราดิศร ทรงเข้ารับราการที่กระทรวงมหาดไทยในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง ในวันที่ 27 ตุลาคม 2450 ต่อมาไต้รับผิดชอบกรมพลัมภัง (กรมการปกครองในปัจจุบัน) ควบคุมนโยบายการเมืองและการปกครองของพระราชอาณาจักร พ.ศ.2451 เสด็จตรวจราชการมณทลอีสานที่อยู่ใกล้ชิดกับอิทธิพลของฝรั่งเศสในอินโดจีน
ทำให้ทรงทราบปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการปกครองแบบเทศาภิบาลที่แยกหน่วยงานจตุสดมภ์แบบโบราณออกมาเป็นกระทรวงแบบยุโรปแต่ยังคงระบบศักดินาไว้เป็นอย่างดี และได้ทอดพระเนตรสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรอย่างแท้จริง เช่น การเดินพระบาทเปล่าย่ำลงไปในโคลนข้ามแม่น้ำโดยไม่มีเรือ เดินด้วยพระบาทเปล่าด้วยไม่มียานพาหนะ การเสวยอาหารพื้นบ้านการประกอบอาชีพ การทำราชการของข้าราชการท้องถิ่นเป็นต้น การเสด็จตรวจราชการครั้งนี้จึงเป็นบทเรียนสำคัญให้เจ้ากรมพลัมภังนำไปประยุกต์ใช้ในการปกครองมณฑลนครศรีธรรมราชในเวลาต่อมาเป็นอย่างดี พ.ศ.2452 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ ทรงวางนโยบายและแผนงานการเมืองให้สัมพันธ์กับการปกครองในพระราชอาณาจักรที่มีเมืองอิสระในระดับหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวาเมืองออก เมืองประเทศราช และหัวเมืองชั้นพระยามหานครว่าจะเข้ามาสู่ระบบการเมือง การปกครองแบบเทศาภิบาลอย่างไร ที่จะพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบอังกฤษในโอกาสต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวเมืองอิสระในภาคใต้ทั้งหมดที่กรุงเทพฯ คิดว่าเป็น "อาณานิคมของสยาม" ตามที่อังกฤษเรียกขานและกำลังมุ่งมั่นที่จะได้ดินแดนภาคใต้เหมือนกันหากประเทศสยามไม่สนใจ จุดนี้คือจุดสำคัญที่กรมพลังภังจะต้องปฏิรูปการเมืองการปกครองให้สามารถ "ผนึก" หัวเมืองอิสระในภาคใต้เข้ากับกรุงเทพ ๆ ให้ได้ด้วยการโยงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางโดยเร็วที่สุดยิ่งกว่านั้น
เป้าหมายหลักสำคัญข้ามอนาคตไปอีกหลังจากได้หัวเมืองอิสระแล้ว คือ การทำพระราชอาณาจักรสยามให้เป็น "ประเทศ" ให้ได้ดังอารยประเทศในตะวันตกทั้งหลาย ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2453 " พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลัาเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง สมเด็จพระลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีรามศวร์ เจ้ากรมพลัมภังไปดำรงค์ตำแหน่ง "ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑ์นครศรีธรรมราช ผู้สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณ" ซึ่งหมายถึง ปกครองดูแลมณฑลแทนพระมหากษัตริย์ที่กรุงเทพฯสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงประทับ ณ.ตำหนักเขาน้อย ทรงบริหารราชการกิจตามหน้าที่เป็นอย่างดีและทรงบำเพ็ญกรณียกิจพิเศษให้กับชาวสงขลาได้รัยความร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้า ด้านการศึกษา ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อการศึกษา (โรงเรียนวรนารีเฉลิม โรงเรียนดัดสันดานเยาวชนชายและให้สิทธินายอำเภอในการจัดตั้งโรงเรียนในเขตอำเภอ) ด้านสาธารณะสุข ทรงให้ความสำคัญต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพมาโดยตลอด เช่นในปี 2456 ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเรี่ยไรเงินจากข้าราชการเพื่อตั้งสภากรรมการป้องกันโรคติดต่อได้สำเร็จ ในปี 2963 ทรงตั้งโรงพยาบาลสงขลาเป็นโรงพยาบาลประจำมณฑล ในที่สุด
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า มณฑลแถวนี้ยังต้องได้รับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง ระบบคมนาคมและหน่วยงานสำนักงานอีกมาก จึงได้มีดำริเร่งรัดพัฒนาเช่น ทรงเปิดบริการไปรษณีย์ระหว่างเมืองภูเก็ต ตรังนครศรีธรรมราชสงขลาพัทลุงและปัตตานีเข้าด้วยกัน ทำให้เมืองเหล่านี้สามารถวิทยุหรือโทรเลขไปยังสิงคโปร์หรือยุโรปได้ทันที ในปี 2961 ทรงสั่งให้ทำถนนหลายสาย ช่น ถนนจากอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ไปปาดังบชาร์ ถนนจากที่ว่าการอำเภอร่อนพิบูลไปสถานีรถไฟเขาน้อย ถนนจากท่าศาลา นครศรีธรรมราชไปยังเหมืองแร่นบอีต้ม และยังทรงอำนวยการให้สร้างและซ่อมแซมทางรถไฟหลวงสายใต้หลายสายภายหลังอุทกภัยในภาคใต้ ต่อมาในปี 2462 ทรงอนุมัติให้สร้างที่ทำการสุขาภิบาลและตั้งโรงพยาบาลทุ่งสง สร้างถนนเชื่อมต่อ พัทลุง กับตรังทรงให้เรือขุด ขุดคลองระโนดให้ลึก เพื่อการสัญจร ขุดคลองซอยเข้าทุ่งเขาพระบาท เขาพังไกร
ด้านความมั่นคง ทรงเล็งเห็นความมั่นคงของชาติ เนื่องจากสงขลาอยู่ติดชายแดนกับประเทศอาณานิคม เพื่อรักษาความสงบและป้องกันการรุกราน โปรดให้ตั้งกองลูกเสือเสนารักษาดินแดน ประจำมณฑล ทำหน้าที่แทนทหาร(ขณะนั้นยังไม่มีกองทหาร) พ.ศ.2458 ทรงคัดเลือกชายไทย100 คน เพื่อฝึกและตั้งเป็นกองตำรวจ เพื่อดูแลความเรียบร้อยของมณฑล ให้กองตรวจคนเข้าเมืองหาข่าวการลักลอบขนอาวุธ ป้องกันการก่อการร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เป็นที่ยอมรับ ของทหารและขุนนางทั่วไป ว่าทรงมีพระทัยกล้าหาญเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง ไม่ยอมใครในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม เมื่อคณะราษฎร์รู้ข่าวว่า พระองค์ทรงประชวร ไม่ได้เสด็จมาบัญชาการถวายควาปลอดภัยแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว "แผนการยึดอำนาจบนสะพานพุทธ" ก็ดำเนินการต่อไปทันที ก่อนพระราชพิธีเปิดสะพานพุทธยอดฟ้า เพียง 2 วัน มีข่าวว่า คณะเปลี่ยนแปลงการปกครองจะจับเจ้านาย
ทุกพระองค์ที่เสด็จไปที่นั่น ทำให้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเครียดมาก ขณะประทับอยู่ในวังลดาวัลย์จึงทรงดื่มมากกว่าปกติ แล้วทรงตะโกนท้าทายคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า "หากแน่จริง ให้เข้ามาจับพระองค์ในวังให้ได้" แต่ก็ไม่มีใครกล้าแตะต้องพระองค์เพราะทุกคนเกรงพระบารมี และความเอาจริงเอาจังของพระองค์ที่เคยทรงใช้ "พระราชอำนาจเทียบเท่ากษัตริย์" มาแล้วในการเป็นอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ในสมัยรัชกาลที่6 และทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมาแล้วและขณะนี้ก็ทรงดำรงตำแหน่ง "อภิรัฐมนตรี" และ "ราชองครักษ์พิเศษ"ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือคณะราษฎร์จึงต้องคิดหนักที่จะจับพระองค์เพื่อควบคุม "ตัวแปร" การปฏิวัติให้ได้ แต่หากพระองค์ไม่ตามเสด็จทางสถลมารดเพราะประชวร คณะราษฎร์
ก็รู้สึกเบาใจไปเหมือนกัน แต่เมื่อเวลากระบวนเสด็จพระราชดำเนินกระบวนพยุหยาตราใหญ่ทางสถลมารดมาถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯในวันที่ 6 เมษายน 247 ฝ่ายคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับเห็นสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอย่างใกล้ชิดในลำดับที่ 2 ยิ่งกว่านั้น ฝ่ายคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองยังสืบ ทราบมาว่า ผู้บัญชาการถวายอารักขาความปลอดภัยในวันนี้คือ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์และ ม.จ. บวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ที่มีความสนิทสนมแน่นแฟ้นกันเป็นกรณีพิเศษเสมอมา
ดังนั้นแผนการยึดอำนาจในวันที่ 6เมษายน 2475 บนสะพานพุทธยอดฟ้าฯ จึงหยุดชะงักลงชั่วคราวต้องรอโอกาสที่ได้เปรียบต่อไปเพราะเกรงความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นหากปะทะกับนายพลเอก ยุคลและนายพล บวรเดช ทำให้พระราชพิธีเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้าๆ ดำเนินไปตามหมายกำหนดการจนเสร็จสิ้นพิธี และในวันที่ 6 เมษายนเดียวกันนี้ ตกในช่วงบ่าย นายพลเอก ยุคล หรือสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ก็สิ้นพระชนม์ แต่ข่าวที่เป็นการแพร่หลายปรากฎว่า พระองค์ทรงประชวรกระเสาะกระแสะมาตั้งแต่พศ. 2470 ต้องเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ยุโรป ทรงเป็นสมเด็จอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ก็เคยเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อมาตามเสด็จกลางแสงแดดร้อนจัดในพระราชพิธีในฉลองพระองค์เต็มยศชุดใหญ่ และต้องทรงเครียดกับการถวายอารักขาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สะพานพะพุทธยอดฟ้าฯ ทั้งที่พระองค์เองมีพระวรกายไม่พร้อม
ดังนั้นเมื่อเสด็จกลับจากพระราชพิธี จึงทรงประทับเรือพระที่นั่งส่วนพระองค์เสด็จประพาสไป "วัดบางคอแหลม" ซึ่งตั้งอยู่บริเวณคุ้งน้ำทางปากน้ำหรือบริวณที่ตั้งโรงกลั่นเหล้าแม่โขง โดยพระองค์ทรงเปลื้องพระภูษาออกให้สบายพระองค์ประทับตากลมที่หัวเรือตลอดเส้นทางเสด็จ จนทรงเป็นลมแดดพระพักตร์มืดสิ้นพระสติตกลงไปในน้ำ เหล่าทหารมหาดเล็กที่ตามเสด็จได้ช่วยกันกู้ภัยนำเสด็จพระองค์ขึ้นมาจากน้ำได้แล้วนำเสด็จกลับกรุงเทพๆ หางเรืออย่างรีบด่วน ความทราบถึงฝาละอองธุลีพระบาท พระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าๆให้นำเสด็จขึ้นที่ท่าเรือหลวง คือท่าวาสุกรี แล้วนำเสด็จไปยังวังลดาวัลย์ เขตดุสิต และพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ที่นั่น
พระองค์ทรงทำงานให้กับประเทศชาติ จนลมหายใจสุดท้ายทรงรักพี่รักน้องอย่างถวายพระชนชีพเราชาวสงขลาน่ายินดียิ่งที่พระองค์ทรงเมตตาเมืองสงขลา และเรายังมีอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่านบนยอดเขาน้อย ให้เราได้ระลึกถึงพระองค์ท่าน และพระองค์ท่านเฝ้ามองเมืองสงขลาอยู่ตลอดเวลา และหากใครมีเวลาว่างสามารถไปสักการะพระองค์ท่านให้อยู่ด้านบนจุดชมวิวเขาน้อยสงขลา ได้ตลอดเวลาเวลาเพื่อนึกถึงความดีของพระองค์ท่าน
อ้างอิงข้อมูล : คุณ Aey Sungsuwan
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 184จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 159บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 228ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 242พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 896รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 695เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 551ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 834