วันนี้เราขอนำเสนอเรื่องเล่าในจังหวัดสงขลา ภายใต้วัฒนธรรมในท้องถิ่นที่เรียกได้ว่าเป็นของสะสม ในด้านของอาวุธ ปืน มีด ต่ในที่นี้เราจะคุยกันเรื่อง"ลูกขวาน" ลูกขวานเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่คนไทยโบราณมักพกพาอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนภาคใต้ที่อาศัยอยู่ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีไปจนถึงจังหวัดสงขลา มีประโยชน์ในการใช้ป้องกันตัวจากภัยต่าง ๆ เช่น การต่อสู้ การทะเลาะวิวาท ฯลฯ ลูกขวานเป็นอาวุธที่มีลักษณะคล้ายขวาน เพียงแต่มีขนาดที่เล็กกว่าคือมีขนาดประมาณความกว้าง 2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 3 นิ้ว ลูกขวานชนิดนี้นิยมเรียกกันว่า "ลูกขวานหย่านมแม่" วัสดุที่นิยมใช้ในการทำลูกขวานคือไม้เนื้อแข็งชั้นดีหรือ เขาสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เขาวัว เขาควาย เขากวาง ฯลฯ
การใช้งานลูกขวานในการป้องกันตัวนี้ นิยมใช้อยู่ 2 วิธี คือการฟันเข้าไปที่หน้าคู่วิวาท ซึ่งเรียกกันว่า "สับหน้า" และ การสับกะโหลกศีรษะของคู่วิวาท ซึ่งเรียกกันว่า "เฉียงหัว" สมัยแต่แรก "ลูกขวาน" เป็นอาวุธประจำกายชายชาวสงขลาท้องทุ่งเหมือนชายอิสลามก็มี กริช หรือ บางชุมชนก็ มีดปาดตาล ฯลฯ ไปไหนมาไหนก็พกพามีการประดับ ตกแต่งให้งดงามบ่งบอกถึงฐานะของเจ้าของและผู้ครอบครอง
ลูกขวานจึงเป็นที่รักที่หวงแหนของเจ้าของมาก เพราะหากบิ่น หรือแหว่ง จะลับคมขวานให้เหมือนเดิมจะลับได้ยากและใช้เวลานาน จนคนใต้มีคำประชดเรียกลูกชายหัวแก้วหัวแหวนว่า "ลูกขวาน" เป็นลูกที่ พ่อแม่รักประดุจ"ลูกขวาน" อาวุธประจำกาย นอกจากเป็นเครื่องมือประจำกายแล้ว ยังมีเรื่องในเรื่องในท้องถิ่นเป็นตำนาน เล่าว่า เจ้าของขวานมีความจำเป็นต้องไป ธุระที่วัด แต่จะพกลูกขวานไปด้วยคงเป็นการน่าเกลียดจึงวางลูกขวานไว้ที่บ้าน ถึงคราวจะเกิดเรื่อง หลานชายของเมียมาพบลูกขวานเข้าจึงนำไปเล่น สับเอาก้อนหินจนลูกขวานแหว่งไปราสา (เยอะ) เมียตกใจมากเพราะหากผัวกลับมาเห็นลูกขวานจะต้องโมโหโกรธเป็นฟืนไปไฟใหญ่ถึงขั้นอภัยกันไม่ได้ที่เดียว เมียจึงเก็บลูกขวานซ่อนเอาไว้
และในช่วงเวลาค่ำฝ่ายเมียจึงได้ชวนผัวมาอาบน้ำเอาอาหารมาตั้ง บริการเอาใจเป็นอย่างดี กินข้าวเสร็จรีบชวนผัวเข้านอนแต่ ในเวลาหัวค่ำเอาอกเอาใจจนกระทั้งจะเข้าด้ายเข้าเข็ม จึงเอามือยันอกผัวไว้บอกว่ามีเรื่องจะขอโทษสักเรื่องขอผัวอย่าโกรรธ ผัวก็ตกลงยินยอมโดยดีเมียจึงเล่าเรื่องลูกขวานแหว่งให้ฟังขอโทษที่มิได้รักษาระวังให้ดี ผัวก็บอกว่าไม่เป็นไรพรุ่งนี้ค่อยว่ากันโถ ๆ
นิทานเรื่องลูกขวานก็จบลงด้วยดี โดยการเคลียร์กันในมุ้ง เป็นนิทานขำขันชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ ต้องทุ่มเทขนาดไหนในการจัดการปัญหา และลูกขวานยังถูกนำไปทำภาพยนต์ นำแสดงโดย ลุงแอ๊ด สมบัติ เมทะนี หลายสิบปีมาแล้ว
หมายเหตุ : คำว่า "แหว่งราสา" คือคมขวานแหว่งไปมาก คำว่า "ค่อยโถ ๆ" คือค่อยถู เป็นอาการของคนลับขวานที่ต้องโยกตัวไปข้างหน้าพร้อมกับออกแรงกด จนกว่าจะลับขวานเสร็จ)
ขอบคุณภาพข้อมูล : Aey Sungsuwan
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 119กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 110ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 118กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 2,078ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 378ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 6,159ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,202เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,334