"เกาะยอ" หนึ่งในชุมชนเก่าแก่ ที่มีความน่าสนใจและมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน สัมผัสบรรยากาศและทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นอีกหนึ่งแหล่งที่รวบรวมศาสนสถานสำคัญ โดยชาวเกาะยอมีการสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญา อันเป็นมรดกที่สำคัญ จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย "กระเบื้องดินเผา" คือหนึ่งในมรดกทางภูมิปัญญาที่สำคัญในอดีต
กระเบื้องดินเผารอบทะเลสงขลา เล่ากันว่ามีชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาในประเทศไทย และตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเกาะยอ เป็นผู้ริเริ่มคิดค้นและประดิษฐ์กระเบื้องดินเผา และเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายรอบๆทะเลสาบสงขลา ต่อมาคนไทยเรียนรู้การทำกระเบื้องดินเผา มีการทำเตาอ่าง เตาอิฐ และเตากระเบื้อง สมัยที่กระเบื้องดินเผารุ่งเรืองที่สุด อยู่ในช่วงราวๆ ปี พ.ศ.2495-2518 มีการใช้แพร่หลายในประเทศไทย อีกทั้งยังมีการส่งออกไปยังมาเลเซีย แต่ในปัจจุบันเหลือเตาเผากระเบื้องแบบดั้งเดิมอยู่เพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ที่ "บ้านท่านางหอม"
ความรุ่งเรืองของกระเบื้องดินเผา มีความเจริญแพร่หลายตั้งแต่ รัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 โดยปรากฏในเอกสารต่างๆ บ่อยครั้งที่ทางเมืองหลวงจะมีการเกณฑืให้เมืองสงขลาทำกระเบื้องส่งไปให้ ซึ่งในรัชกาลที่ 4 มีการให้เกณฑ์เมืองสงขลาทำกระเบื้องหน้าวัวปูพื้น 50,000 แผ่น ปูบริเวณ อุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม และวัดเขมาภิรตาราม ในรัชกาลที่ 5 มีการนำกระเบื้องดินเผาเมืองสงขลา ไปใช้มุงหลังคาพระวิหารหลวงในการซ่อมแซมพระบรมธาตุไชยา
กระเบื้องดินเผาเกาะยอ เป็นมรดกทางภูมิปัญา ที่ค่อยๆสูญหายไปจากลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และอีกไม่นานอาจจะหลงเหลือไว้เพียงชื่อ แต่อย่างไรก็ดี Hatyai Focus ได้บันทึกไว้แล้วว่า ครั้งหนึ่งเกาะยอและเมืองสงขลา มีมรดกทางภูมิปัญญาและผลผลิตที่มีชื่อเสียงในอดีตนามว่า "กระเบื้องดินเผาเกาะยอ"
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 125จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 129บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 190ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 239พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 857รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 655เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 513ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 820