วัดนางเหล้านับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีกหนึ่งสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในการเดินทางมาเยือนหรือกลับมาเยือนซ้ำ ซึ่งภายในวัดมีการแบ่งสัดส่วน ดูสวยงาม สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชุมชนและท้องถิ่นและยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม สร้างความประทับใจและดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก
สำหรับวัดนางเหล้า หรือนางลาว ตั้งอยู่บ้านนางเหล้า ถนนเขาแดง-ระโนด หมู่ที่ 3 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีกำแพงวัดทั้ง 4 ด้านเป็นอาณาเขต ซึ่งวัดนางเหล้าหรือวัดนางลาวสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ปี 2225 โดยมีอุบาสิกาชื่อนางลาว มีจิตศัทธาบริจาคที่ดินและสร้างวัด แต่เดิมชื่อวัดนางลาว ตามชื่อผู้บริจาคที่ดินและสร้างวัด ต่อมาชาวบ้านเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็นวัดนางเหล้า จากนั้นปี พ.ศ.2538 ได้มีการขออนุญาตต่อกรมการศาสนาขอเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดลาวัณย์วราราม (มีความหมายว่าวัดมีความงามอันยอดเยี่ยม) แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามที่เสนอขอเปลี่ยนชื่อวัด
ทั้งนี้ภายในวัดนางเหล้ายังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามโครงการพัฒนาหอวัฒนธรรมนิทัศน์ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ 2553 ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมตำบลชุมพล ที่ครอบคลุมวิถีชีวิตของชุมชนอย่างครบวงจร
ได้แก่ 1.ห้องสมุดชุมชนตำบลชุมพล (ห้องสมุดวิเทศธรรมนาถ) สถานที่เก็บรวบรวมหนังสือ เอกสาร งานวิจัยในท้องถิ่น เอกสารทางวิชาการและเอกสารอื่นๆ สำหรับศึกษาหาความรู้และค้นคว้าข้อมูลข่าวสารและ 2. พิพิธภัณฑ์ชุมชนตำบลชุมพล ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้เก่าแก่ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อจัดแสดงให้เยาวชนและประชาชนได้เข้าไปเยี่ยมชม ศึกษาหาความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเข้าไปศึกษาหาความรู้
อีกทั้งพื้นที่บริเวณใกล้เคียงวัดนางเหล้ายังมีแหล่งเรียนรู้ย่อยที่กระจายอยู่พื้นที่โดยรอบเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านต่างๆ ได้แก่ 1.แหล่งเรียนรู้ทางศิลปะไทย ที่จัดแสดง สาธิตและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะ ทั้งด้านจิตรกรรม การเขียนภาพฝาผนัง การเขียนภาพลงบนผืนผ้าใบ การเขียนภาพลายผ้า และการเขียนภาพต่างๆ การปั้น การแกะสลักและการหล่อพระพุทธรูป
2. แหล่งเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพทางวัฒนธรรม ได้แก่ แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพ ทำกระเบื้องดินเผา (โรงทำกระเบื้องดินเผาเกียรติสุวรรณ) ที่มีการจัดแสดงและสาธิตการทำกระเบื้องดินเผา ได้แก่ กระเบื้องสุโขทัย กระเบื้องเกล็ดปลา กระเบื้องโบราณหลายแหลมและอื่นๆ มีทั้งแบบเคลือบสีและแบบธรรมชาติและแหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพ ตาลโตนดครบวงจร (โรงทำน้ำตาลแว่นบ้านคลองฉนวน) ที่จัดแสดงและสาธิตการทำน้ำตาลแว่นและวิถีชีวิตการประกอบอาชีพจากตาลโตนด และ 3.แหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งเรียนรู้โบราณสถานวัดพะโคะและแหล่งเรียนรู้ชุมชนโบราณเขาคูหานั้นเอง
ขอบคุณข้อมูล : สำนักกรมประชาสัมพันธ์สงขลา ภาพ : คุณสุนันท์ แซ่แต้
กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 1,693ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 288ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 5,181ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,096เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,224วิถีมุสลิมบ้านดอนขี้เหล็ก "ประเพณีการทูนพานอาหาร" ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี
8 มิถุนายน 2568 | 1,072เปิดตำนาน...ที่มาชื่อบ้านบ่อแดง อ.สทิงพระ
25 พฤษภาคม 2568 | 1,584ของดีของหรอยท่าเลออก ตลาดริมทางของผู้สัญจรผ่าน ณ สามแยกบ่อทราย (ปากรอ)
25 พฤษภาคม 2568 | 3,830