ก่อนที่เราจะไปเข้าสู่เรื่องราวความเป็นมาของตลาดโต้รุ่งแห่งนี้ เรามาทำความรู้จักกับประวัติของหมู่บ้านกันก่อน หมู่บ้านสทิงหม้อ สร้างหมู่บ้านก่อนสมัยอยุธยา มีตำนานเล่าว่า ราษฎรในหมู่บ้านมีอาชีพปั้นดินแล้วนำมาเผา ซึ่งสิ่งที่ปั้นทั้งหมดนั้น จะเป็นภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน เมื่อปั้นและเผาเสร็จจะบรรทุกเรือ นำไปเร่ขายในหมู่บ้านใกล้เคียง คนในหมู่บ้านนี้มีความภาคภูมิใจในฝีมือการปั้นมาก ว่ามี “สทิง” ซึ่งแปลว่าสวยงาม จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “สทิงหม้อ”
หมู่บ้านสทิงหม้อ จากที่เรารู้กันอยู่ว่าหมู่บ้านสทิงหม้อมีดีเรื่องการปั้นหม้อ แต่วันนี้เราจะมาเปิดประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เคยมีใครรู้มาก่อนเกี่ยวกับหมู่บ้านสทิงหม้อที่มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางทางด้านการคมนาคมทางน้ำในอดีต คลองสทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นลำน้ำที่ผ่ากลางตามแนวยาวของคาบสมุทรสทิงพระ ปลายคลองเริ่มจากบ้านป่าขวาง ตำบลรำแดง ไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาที่ปากคลองบ้านสทิงหม้อ ความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร ผ่าน 5 ตำบล คือ ตำบลสทิงหม้อ ทำนบ รำแดง ม่วงงาม และวัดขนุน แม้ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าบรรพบุรุษได้ขุดขึ้นหรือเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่คลองสทิงหม้อ (จะทิ้งหม้อ) ก็เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดหลักของพื้นที่สิงหนครมาแล้วไม่น้อยกว่า 100 ปี
จากการสอบถามชาวบ้านในชุมชน ทั้งนี้ได้ความว่าที่นี่แต่ก่อนเคยเป็นท่าเรือเก่า เป็นที่พักหรือรอขึ้นเรือเพื่อที่จะเดินทางเข้าเมืองสงขลา เดินทางไประโนด หรือเดินทางไปยังอำเภออื่นๆ นับว่าเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในสงขลา มีเรือจอดเทียบท่าเกือบตลอดทั้งวันอีกทั้งยังมีเรือสินค้าจากต่างประเทศมาเทียบท่าเพื่อนำสินค้ามาขายและได้มาหาซื้อสินค้าจากประเทศไทยกลับไปขายในประเทศตน เช่น กุ้งหอยปูปลา พวกของป่า น้ำผึ้งป่า และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
ตามธรรมดาของมนุษย์ที่ใดเจริญรุ่งเรืองที่นั่นย่อมเกิดการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า จึงเป็นสาเหตุทำให้คนในชุมชนหันมายึดอาชีพค้าขายริมท่าเรือเป็นหลัก และค่อยๆมีความรุ่งเรืองขึ้นจากที่เคยเป็นแค่ท่าเรือไว้สำหรับรอ หรือขึ้นเรือธรรมดาๆ ก็ได้เป็นตลาดใหญ่ มีผู้คนมากหน้าหลายตามาเยือน
มีการจัดสร้างโรงน้ำชาเพื่อรองรับผู้คนที่เดินทางเข้าออกท่าเรือแห่งนี้ แต่หลัง พ.ศ.2504 ทางราชการเริ่มถมเส้นทางเผื่อสร้างถนน การคมนาคมทางน้ำเริ่มมีคู่แข่ง มีการสร้างแพขนานยนต์ให้รถข้ามฟากไปยังเมืองสงขลาได้ ทำให้รถยนต์โดยสารเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนจึงนิยมใช้บริการรถโดยสารแม้จะต้องนั่งคลุกฝุ่นเขรอะขระไปก็ตาม เพราะความสะดวกและรวดเร็วกว่าหลายเท่า ทำให้การเดินทางทางเรือในคลองสทิงหม้อค่อยๆ หายไป
เรื่องราวทั้งหมดจึง ส่งผลให้ตลาดโต้รุ่งท่าเรือเก่าที่เคยรุ่งเรืองกลับกลายเป็นอดีตที่ได้แค่เล่าขานกันมาไม่มีแม้แต่รูปหรือสภาพความเป็นท่าเรือที่เคยรุ่งเรืองมากในอดีตหลงเหลืออยู่เลย ปัจจุบันก็ยังมีการใช้เรือให้เห็นอยู่แต่น้อยถ้าเทียบกับอดีต ส่วนมากจะใช่ในการประกอบอาชีพเป็นหลัก ไม่เหมือนในอดีตที่ใช่ในการเดินทาง
ขอบคุณภาพข้อมูล : ตลาดนัดโต้รุ่ง อดีตที่เคยรุ่งเรือง , oknation.nationtv
บัวของคนภาคใต้...ที่ไม่ได้หมายถึงดอกบัว
11 พฤษภาคม 2568 | 211ร่องรอยเจดีย์บนเกาะหนู โบราณสถานสำคัญสมัยอาณาจักรอยุธยา
11 พฤษภาคม 2568 | 236ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 539จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 338บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 533ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 433พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 1,187รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 997