มัสยิดบ้านบน หรือมัสยิดอุสาสนอิสลามแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นมัสยิดที่ความเก่าแก่เพราะไล่เลี่ยกับการสร้างเมืองมีปี พ.ศ. ระบุไว้อย่างชัดเจนทางประตูรั้วทางเข้าว่า 2390 นั่นจึงหมายความว่ามัสยิดหลังนี้สร้างขึ้น 5 ปี หลังจากที่รัชกาลที่ 3 พระราชทานเสาหลักเมืองในปี 2385 พร้อมทั้งมีหลักฐาน ร.5 พระราชทรัพย์บูรณะปฎิสังขรณ์ประดับตกแต่งเมื่อครั้งเสด็จประพาสเกาะชวา และได้แวะที่เมืองสงขลา ร.6 พระราชทานโคมไฟสีเขียวแก่มัสยิด เช่นเดียวกับที่ทรงพระราชทานแก่มัสยิดที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร
ซึ่งโคมไฟนี้เองเป็นเครื่องสังเค็ดพระเมรุของร.5 มัสยิดนี้เองในอดีตเคยเป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลาถือว่าได้ว่าเป็นศูนย์ทางจิตใจของพี่น้องชาวมุสลิมในจังหวัดสงขลาแถมทั้งความผสมผสานของศิลปะไทยจีนเข้าด้วยกันทำให้เกิดกลิ่นอายของวัฒนธรรมที่สวยงามและก่อนที่มัสยิดกลางใหม่จะถูกสร้างขึ้นใหม่ริมถนนลพบุรีราเมศวร์ ตำบลคลองแห และยังเป็นมัสยิดของคนในชุมชนปัจจุบันเองมีทั้งผู้คนต่างถิ่นพากันแวะเวียนมาละหมาดเยี่ยมเยียนหรือถ่ายรูปเก็บไว้
มัสยิดแห่งนี้เองถือได้ว่ามีรูปแปบบสถาปัตยกรรมที่ไม่เหมือนที่ไหนมาก่อนแตกต่างจากมัสยิดโดยทั่วไป หากเราสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่า อาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทยคล้ายอุโบสถวัด หออาซานเดิมเองก็มีความคล้ายลักษณะหอระฆังในวัดก่อนที่จะมีการต่อเติมโคมในภายหลัง เชื่อกันว่าในช่วงที่สร้างหออาซานเองเป็นช่วงเดียวกับที่สร้างวิหารวัดมัชฌิมาวาสอีกด้วย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกันมากแม้ว่าจะเป็นมัสยิดทรงไทยก็ไม่มีอะไรขัดต่อหลักการอิสลาม โต๊ะอิหม่ามคนแรกประจำมัสยิดชื่อ โต๊ะอิหม่ามซ๊ะ (เป็นต้นตระกูลอิหม่ามของประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา)
ในช่วงก่อนหน้านี้เองก่อนประตูใหญ่ทางเดินเข้าก่อนการบูรณะครั้งใหญ่ ได้มีทรงโค้งยอดแหลม เป็นศิลปะของอิสลามนั่นเองที่ผสมผสานกับศิลปะไทยอยู่ แต่ก็ได้ถูกแก้ไขช่วงการบูรณะใหญ่เป็นที่น่าเสียดายซึ่งในปัจจุบันก็จะเหลือเพียงประตูเดียวที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั่นคือประตูทางเข้าหออาซานอยู่ด้านทิศตะวันตกของมัสยิดนั่นเอง
ในปัจจุบันเองมัสยิดมีความเปลี่ยนแปลงไปเยอะสวยงามขึ้นตามลำดับเวลา มัสยิดบ้านบนตั้งอยู่บนถนนพัทลุงในย่านเมืองเก่าสงขลาเราสามารถที่จะสามารถเดินจากถนนนครในได้เลย ตรงบริเวณมัสยิดเองมีร้านค้าเครื่องหมายฮาลาลให้แก่นักท่องเที่ยวชาวบ้านก็เป็นกันเองแถมในยามค่ำคืนที่ตรงนี้ก็คึกคักมิใช่น้อย
ขอบคุณข้อมูล : baannainakhon
ขอบคุณรูปภาพ : สืบสกุล ศรีสุข , ดนัย โต๊ะเจ
ร่องรอยจากอดีต พิพิธภัณฑ์วัดท่าช้าง(บางกล่ำ)
18 พฤษภาคม 2568 | 220เจ้าบ่าวน้อยแห่งควนเขาสูง : วีรบุรุษชุมชนท้องถิ่น บ้านพรุเตาะ ต.ทุ่งใหญ่
18 พฤษภาคม 2568 | 208หรางเมืองสงขลาในอดีต ครั้นย้ายเมืองสงขลามาฝั่งบ่อยาง
18 พฤษภาคม 2568 | 263บัวของคนภาคใต้...ที่ไม่ได้หมายถึงดอกบัว
11 พฤษภาคม 2568 | 422ร่องรอยเจดีย์บนเกาะหนู โบราณสถานสำคัญสมัยอาณาจักรอยุธยา
11 พฤษภาคม 2568 | 583ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 944จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 511บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 855