ฤาษีดัดตนคืออะไร มีตำนานเล่าขานอย่างไร และทำไมถึงเรียกเชื่อนี้เอ่ยวันนี้หาดใหญ่โฟกัสมีเรื่องราวมาเล่าให้คุณผู้อ่านได้รู้กันอย่างแน่นอน ในวัดมัชฌิมาวาสเป็นพระอารามหลวงสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายมีรูปฤาษีดัดตนในรูปแบบศิลปะ ศาลาฤาษีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของศาลาการเปรียญเยื้องกับอุโบส สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นอาคารโถงก่ออิฐถือปูนเป็นซุ้มอาร์ตโค้งอันแสดงถึงอิทธิพลจากตะวันตกที่เริ่มเข้ามาอย่างมากในสมัยนั้น
หน้าทั้งสองด้านปั้นเป็นเรื่องพุทธประวัติ อาคารบริเวณคอสองเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปฤาษีดัดตน แต่ละภาพมีคำโคลงบรรยายประกอบ และที่หน้าบันด้านในของทิศตะวันออกและตะวันตกมีอักษรเขียนเกี่ยวกับตำรายาแก้โรคต่างๆ นอกจากนี้ปรากฏศักราชบนหน้าจั่วด้านทิศตะวันออกทำให้ทราบว่าภาพเหล่านี้เขียนขึ้นในปีพ.ศ. 2445 อาคารหลังนี้ต่อมาได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ โดยกรมศิลปากรเมื่องปีพ.ศ. 2522 นี้เอง
ภายในวัดมีศาลาฤาษี ซึ่งทั้งหมดมีคุณค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม และตำรายาแผนโบราณเป็นศาลาโถงทรงไทยที่สวยงามมามีสัดส่วนถูกต้องทรวดทรงหลังคาอ่อนช้อย ก่อด้วยอิฐเผาถือปูนแต่ไม่โบกปูน มีช่วงเสาโค้งรับหน้าบันที่ปั้นเป็นรูปพุทธประวัติ ด้านตะวันตกเป็นตอนทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา ด้านตะวันออกเป็นตอนทรงลอยถาดในแม่น้ำเนรัญชรา ภายในศาลาตรงหน้าบันทั้ง 2 ด้าน มีจารึกเรื่องตำรายาและมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปฤาษีดัดตนจำนวน 40 ภาพ แต่ละภาพบอกสรรพคุณที่จะแก้โรคและมีคำโคลงสี่สุภาพบรรยายประกอบ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันภาพได้ลบเลือนไปบ้างแล้ว
ศาลาฤาษีดัดตนที่วัดนี้ สร้างขึ้นในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ โดยเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในขณะนั้นสาเหตุที่เรียกศาลานี้ว่าศาลาฤาษีดัดตนนั้นมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในศาลา ที่มีภาพฤาษีพร้อมด้วยจารึกคำอธิบายคุณสมบัติของการรักษา ฤาษีดัดตนเป็นกายบริหารร่างกายที่มีถึง127ท่าแต่มี15ท่าพื้นฐานเท่านั้นที่กระทรวงสาธารณสุขยอมรับและคนทั่วไสามารถปฎิบัติได้ด้วยตัวเอง ที่ใช้การดัดส่วนต่างๆ ของร่างกายและบริหารระบบลมหายใจ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพโดยเฉพาะสรรถภาพทางการแพทย์ในวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูในส่วนของการบริหารระบบการหายใจด้วยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อและระบบกระบังลม ซึ่งเป็นหลักในการปฏิบัติของฤาษีดัดตนก็เป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดี
มีหลายท่าของฤาษีดัดตน ถ้าปฏิบัติร่วมกับการกำหนดลมหายใจตามหลักของพระพุทธศาสนานอกจากจะได้ร่างกายที่สุขภาพดีแล้วจะได้การปฏิบัติสมาธิควบคู่ไปด้วยเป็นการปฏิบัติธรรมทำให้จิตใจเข็มแข็งมีสมาธิเป็นการยกระดับจิตใจให้พ้นจากอารมณ์ขุ่นมัวทั้งหลายอีกด้วย หากคุณผู้อ่านสนใจอยากลองนำท่าฤาษีดัดตนไปฝึกลองกันที่บ้านได้หรืออาจจะไปชมที่วัดมัชฌิมาวาสสงขลากันได้ทุกวัน
ขอบคุณข้อมูลรูปภาพ : มุมวิชาการแพทย์แผนไทยอาจารย์กิตติชัย อนวัชรประยูร , ฐานข้อมูลศิลปกรรมในภาคใต้ , คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชมภาพเก่าเมื่อ 89 ปีก่อน โรงงานแป้งสาคู ณ บ้านคลองแงะ (สะเดา)
13 กรกฎาคม 2568 | 104กว่า 161 ปี สุเหร่าบ้านพรุหมาก มัสยิดแห่งแรกของอำเภอเทพา
13 กรกฎาคม 2568 | 88ย้อนประวัติเรือพัทลุง เรือที่ใช้ติดต่อราชการระหว่างเมืองสงขลา-เมืองพัทลุง
13 กรกฎาคม 2568 | 101กัปตันวอสเบียน : ผู้ให้กำเนิดจักรยานพ่วงข้างคันแรกของปักษ์ใต้ ณ เชิงเขาตังกวน (สงขลา)
6 กรกฎาคม 2568 | 2,059ที่มาชื่อบ้านท่าช้าง อ.บางกล่ำ ย้อนรอยชม "เสาหงส์" ครั้งพม่ายกทัพตีหัวเมืองภาคใต้
6 กรกฎาคม 2568 | 364ย้อนตำนานเมื่อครั้งอดีต วงเวียนแยกหลาลุงแสง 3 ยุคสมัย 3 รูปแบบ
6 กรกฎาคม 2568 | 6,098ย้อนชมภูมิปัญญาการทำขวัญข้าว สู่การสร้างวงเวียนพระแม่โพสพ ศูนย์รวมจิตใจชาวระโนด
8 มิถุนายน 2568 | 1,190เปิดที่มาชุมชนประวัติศาสตร์ บ้านควนจง (นาหม่อม)
8 มิถุนายน 2568 | 1,327