หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

ระโนด | วัดสีหยังพุทธสถานของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณ ในสมัยอยุธยาเรียกวัดนี้กันว่า วัดศรีภูยัง
9 มิถุนายน 2562 | 8,716

ก่อนจะมาเป็นวัดสีหยังในปัจจุบันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักที่มาของวัดนี้กันหน่อยเพราะเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนยังไม่ทราบอย่างแน่นอน วัดสีหยัง หรือในสมัยอยุธยาเรียกวัดนี้กันว่า วัดศรีภูยัง มีการสันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในอาณาจักรศรีวิชัย เมื่อประมาณพ.ศ 2310แผนที่กัลปนาวัดเมืองพัทลุ เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดสีกุหยัง เป็นพุทธสถานของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณและเป็นวัดที่สำคัญในสมัยอยุธยา ตลอดถึงเป็นวัดที่สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

ส่วนในปี พ.ศ. 2522 หน่วยศิลปากรที่ 9 สงขลา กองโบราณคดีได้สำรวจขุดแต่งบูรณะวัดสีหยังพบว่ามีซากสถูปก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ในเนินดินเป็นสถูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสส่วนบนหักหายไปมีการใช้หินปะการังซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นรูปบัวของสถูปแทนอิฐ นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาและแบบเคลือบ และยังเคยพบประติมากรรมสำริดในบริเวณใกล้เคียงเป็นเทวรูปสำริดพระกรถือรวงข้าว ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดสีหยังและบริเวณรอบ ๆ สถูปยังปรากฏคันคูดินโบราณที่บ่งบอกถึงความเป็นชุมชนโบราณอยู่อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาและแบบเคลือบรวมถึงเทวรูปสำริดพระกรถือรวงข้าวซึ่งภาชนะและวัตถุโบราณแบบนี้ยังเคยขุดพบในบริเวณใกล้เคียงด้วยแสดงให้เราเห็นว่าว่าชุมชนแห่งนี้เคยมีความรุ่งเรืองมาก่อนในอดีตกาล

ในส่วนของวัดสีหยังมีความสำคัญคือเป็นพุทธสถานของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณ ที่มีร่องรอยว่าเป็นชุมชนคูน้ำคันดินในสมัยนั้นต่อมาได้กลายเป็นวัดสำคัญในสมัยอยุธยาแต่เดิมวัดสีหยังล้อมรอบด้วยคูเมืองทั้งสี่ด้านแต่สภาพปัจจุบันคงเหลือร่องรอยคูเมืองไว้เพียงบางส่วน มีคูเมืองด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันออกที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ วัดสีหยังอยู่ริมถนนทางหลวงสงขลา-นครศรีธรรมราชตั้งอยู่เลขที่ 127 บ้านสีหยัง หมู่ที่ ๓3ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 33 ไร่ 3 งาน สร้างในสมัยศรีวิชัยประมาณ พ.ศ. 2310 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณปี พ.ศ. 2320 ชื่อเดิมว่า วัดสีกุยังในหนังสือกัลปนาวัดหัวเมืองพัทลุงสมัยอยุธยาเรียกว่า วัดศรีกูยังมีพระอุโบสถและศาลาการเปรียญเป็นสถาปัตยกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านของสงขลา

นอกจากนี้โบราณวัตถุโบราณสถานภายในวัดสีหยังนั้นปรากฏโบราณสถานตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 26เป็นต้นมา เช่น ซากฐานเจดีย์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมของชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของภาคใต้ ที่หลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีร่องรอยการก่ออิฐถือปูนเมื่อปี พ.ศ. 2522 ไม่ว่าจะเป็นฐานเจดีย์เก่าฐานเจดีย์เก่านี้ก่อด้วยอิฐดินเผาและหินปะการัง การก่อสร้างใช้ยางไม้ชนิดหนึ่งแทนการสอปูนจัดเรียงอิฐแบบไม่มีระบบซึ่งเป็นเทคนิคขอช่างสมัยศรีวิชัยจากหลักฐานสันนิษฐานว่าองค์เจดีย์มีรูปทรงแบบมณฑปของพระบรมธาตุไชยา ต่อมาได้หักพังลงเหลือแต่ฐานเจดีย์ นักโบราณคดีได้ให้ความเห็นว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างในสมัยศรีวิชัย หรือในพุทธศตวรรษที่ 13-18 ซากฐานเจดีย์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเสาติดผนังมีบันไดทางขึ้นอยู่ทางด้านหน้าเพียงด้านเดียว (ด้านทิศเหนือ) เป็นหลักฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมของชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของภาคใต้แห่งเดียวที่ยังคงเหลือให้เราได้ชมอยู่

ส่วนอุโบสถเก่าหรือโบสถ์ทรงสูงก่ออิฐถือปูนฐานสูงตั้งอยู่บนฐานปัทม์ที่สูงมีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียวเจาะช่องหน้าต่างด้านละ 2 ช่อง ขอบประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นรูปวงโค้งและเทวดาหน้าบันด้านหน้ามีลายปูนปั้นลายดอกพุดตานใบเทศมีบุคคลเป็นส่วนประกอบ ตรงจั่วมีช่อฟ้าใบระกามีปั้นลมรูปหัวนาคแทนหางหงส์บริเวณหน้าบันเป็นรูปลายก้านขดสี่วงรูปรามสูรขว้างขวานและเมขลาล่อแก้วมีใบเสมาคู่บนฐานก่ออิฐสูงล้อมรอบอุโบสถไว้ภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย 

ซึ่งในปัจจุบันมีอุโบสถหลังใหม่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปทรงสี่เหลื่อมฐานสูง มีประตูทางเข้าทางเดียวคือด้านหน้า รอบ ๆ พระอุโบสถมีลานทักษิวัฏ มีหน้าต่างด้านละ 2 ช่องขอบประตูและหน้าต่างตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นรูปวงโค้งและมีเทวดาหน้าบัน ด้านหน้ามีลายปูนปั้นลายดอกพุดตานใบเทศมีบุคคลเป็นส่วนประกอบ ตรงหน้าจั๋วมีช่อฟ้าและใบระกาและปั้นลมรูปหัวนาคแทนหางหงส์ภายในของพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นฝีมือช่างท้องถิ่น สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 92 ปีมาแล้ว

 

ส่วนในบริเวณใกล้กันยังคงมีศาลาไม้หรือวิหารโถงไม้อยู่บริเวณด้านหน้าของฐานเจดีย์เก่าหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องดินเผา (ซึ่งนำมาจากเกาะยอ) ยอดหลังคาประดับด้วยรูปครุฑและพญานาคซึ่งลักษณะของสถาปัตยกรรมดังกล่าวนี้ทำให้เห็นถึงรูปแบบของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นโดยการผสมผสานกับรูปแบบของศิลปกรรมที่นิยมกันในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เป็นอย่างดี

 

 

 

และสุดท้ายสถานที่สำคัญที่สวยคือศาลาประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดและพระเกจิอาจารย์ภาคใต้ศาลาประดิษฐารูปเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดและพระเกจิอาจารย์ภาคใต้  ทางวัดได้ดำเนินการจัดสร้างเพื่อประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดและเป็นที่ปฏิบัติธรรมกิจวัตรของพระที่มาทำกิจจากวัดต่าง ๆ ได้อีกด้วยเมื่อมาเยือนวัดสีหยังแห่งนี้

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพคลิก

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง