หลาย ๆ คนในที่นี้คงทราบสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ดี หากพูดถึงหาดใหญ่แน่นอน"น้ำตกโตนงาช้าง"จัดได้ว่าสวยที่สุดในภาคใต้ และคำว่าโตนเป็นภาษาท้องถิ่นที่แปลว่าน้ำตกนั่นเอง น้ำตกโตนงาช้างมีทั้งหมด 7 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 โตนบ้า ชั้นที่ 2 โตนปลิว ชั้นที่ 3 โตนงาช้าง ชั้นที่ 4 โตนดำ ชั้นที่ 5 โตนน้ำปล่อย ชั้นที่ 6 โตนฤๅษีคอยบ่อ และชั้นที่ 7 โตนเหม็ดชุน
ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งความเชื่อในความเล่าขานบอกปากต่อปากที่คอยปกปักษ์รักษาน้ำตกโตนงาช้างแผ่นป่าแห่งความอุดมสมบูรณ์ที่นี่ไว้นั่นคือ"ทวดตาขุนดำ ทวดโต๊ะปะหวัง"ทวดแห่งน้ำตกโตนงาช้าง บางคนอาจจะยังสงสัยหรือไม่ได้ทราบว่าทวดในที่นี่หมายถึงอะไรวันนี้จะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับคำว่าทวดในวัฒนธรรมทางความเชื่อของชาวไทยถิ่นใต้มีปรากฏให้ได้พบเห็นอยู่อย่าง มากมาย อาทิ ทวดในรูปคน ทวดในรูปต้นไม้ ทวดไร้รูป นอกจากนี้ยังปรากฏทวดในรูปสัตว์ อันเป็นทวดที่เชื่อกันว่าดำรงตนอยู่ในรูปแบบ"กึ่งเทวดากึ่งสัตว์"เป็นพญาสัตว์มีความสามารถและเดชานุภาพให้คุณและให้โทษได้ เช่น ทวดงู ทวดจระเข้ ทวดช้าง และทวดเสือ เป็นต้น ทวด หมายถึง ดวงวิญญาณอันมีเดชานุภาพสูง ต้องมีการปฏิบัติบูชาเอาใจจึงจะให้คุณ และให้โทษหากมีการล่วงละเมิด ทวด แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ทวดที่เชื่อว่าเป็นรูปคน เช่น ทวดคำแก้ว ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นต้น
2. ทวดที่เชื่อว่าไม่มีรูป เช่น ทวดสระโพธิ์ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
3. ทวดที่เชื่อว่าเป็นรูปสัตว์ เช่น ทวดแหลมจาก(ทวดจระเข้) ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
แต่ที่เราอยากจะหยิบยกขึ้นมาให้อ่านนั่นเป็นทวดที่คุ้มครองสถานที่แห่งนี้ไว้ ทุกที่มีตำนานมีเรื่องเล่าเช่นเดียวกับที่นี่มีตำนานเล่าขานขนลุกสะพรึงกลัว เหตุการณ์นี้เป็นคำบอกเล่ามีความเชื่ออยู่เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตป้องปกดูแลผู้คนภายในบริเวณน้ำตกโตนงาช้างมาเป็นเวลานับได้หลายร้อยปี คือความเชื่อในเรื่องทวดตาขุนดำ ทวดโต๊ะปะหวัง ซึ่งมักปรากฏให้ชาวบ้านภายในพื้นที่เห็นในรูปของพญาเสือดำขนาดใหญ่ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นทวดเสือซึ่งจัดเป็นทวดในรูปสัตว์ ซึ่งเคยมีเรื่องเล่าจากชาวบ้านถึงความเชื่อในเรื่อง ทวดตาขุนดำ-ทวดโต๊ะปะหวัง เอาไว้ว่าเดิมทีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ภายในบริเวณน้ำตกโตนงาช้างและบริเวณใกล้เคียงล้วนมีความเชื่ออันสืบทอดต่อกันมาว่ามีทวดเสือชื่อทวดตาขุนดำ-ทวดโต๊ะปะหวัง เป็นผู้ดูแลให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย และไร้ทุกข์ภัยเข้ามากล้ำกราย ชาวบ้านจึงจัดแจงสร้างศาลเพียงตาไว้ให้เป็นที่สถิตของดวงวิญญาณดังกล่าว(ศาลเพียงตา หมายถึงศาลที่ต้องยกขึ้น 4 เสา ยกพื้นระดับตา มีร่มกาง มีเพดาน) ซึ่งเป็นศาลเล็กๆอยู่บนไหล่เขา ปรากฏมีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวบางส่วนน้ำดอกไม้และเครื่องเซ่นไหว้มาบูชาอยู่มิขาดสาย ต่อมาราวปี พ. ศ. 2549 ได้มีนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์คนหนึ่งเดินทางมาเที่ยวน้ำตกโตนงาช้าง จนตกช่วงเย็นชายคนดังกล่าวได้ออกเดินทางปีนขึ้นไปชมทัศนียภาพบนน้ำตกโตนงาช้างชั้นที่ 3 และชั้นที่ 4 (โตนงาช้าง และโตนดำ) จากนั้นจึงหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยเพื่อน ๆ ที่มาด้วยกันจึงออกตามหาแต่ก็หาไม่พบแต่ประการใด
จวบจนต้องลงมาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของทางน้ำตกได้ทราบจึงออกช่วยกันตามหาอีกกลุ่มหนึ่งจนในช่วงดึกจึงต้องยกเลิกไปแล้วออกหาตอนเช้าอีกที หาอยู่ 3 วัน 3 คืนก็ยังหานักท่องเที่ยวชายชาวสิงคโปร์คนดังกล่าวไม่พบ สุดปัญญาจนชาวบ้านกลุ่มหนึ่งวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาจกลัวว่าจะถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงได้เชิญหมอไสยศาสตร์มาทำพิธีกรรมเข้าทรงและพอได้รับข้อมูลมาว่านักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ที่หลงป่ายังมีชีวิตอยู่ประทังชีพด้วยการกินยอดไม้ และน้ำเป็นอาหารเขาเพียงโดนผีบังตา (ผีบังตาคือการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งถูกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งที่มีฤทธิ์ในสถานที่นั้นๆบดบังเอาไว้ไม่สามารถให้เห็นกันและกันได้) เอาไว้ท่านมิต้องเป็นห่วงแต่ประการใด ถึงเวลาเขาก็จะกลับมาเอง แต่หลังจากนั้นก็ขอให้ช่วยสร้างศาลให้เราอยู่ด้วยหัวหน้าทีมค้นหาจึงสัญญาว่าหากหาเจอก็จะสร้างศาลสถิตบูชาให้ วันที่ 4 ที่ออกค้นหาจึงหานักท่องเที่ยวคนดังกล่าวพบ หลังจากนั้นจึงมีการสร้างศาลขึ้นมาในบริเวณเดิม โดยเป็นศาลถาวรที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมมากภายในปรากฏรูปประติมากรรมเคารพบูชารูปพญาเสือดำขนาดใหญ่อยู่ภายในบริเวณศาลให้ชื่อว่าทวดตาขุนดำ-ทวดโต๊ะปะหวังเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ผู้ดูและน้ำตก ตลาดจนนักท่องเที่ยวจวบปัจจุบัน ไม่เพียงแต่เท่านี้แต่ครั้งเมื่อเกิดพายุพัดถล่มน้ำตกโตนงาช้างทำให้มีต้นไม้ใหญ่โค้นล้ม 42 ตัน ตัวอาคารต่างๆ ถูกต้นไม้ล้มทับเสียหายบางส่วน 6 หลัง และรถยนต์อีก 3 คัน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บแม้แต่รายเดียวและทิศทางของต้นไม้ที่ล้มก็ล้มไปทางอื่นที่โดนก็แค่เฉี่ยวๆเสียหายไม่มาก ทำให้เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นเพราะบารมีของทวดน้ำตกโตนงาช้างที่ทุกคนบูชาช่วยปกป้องเอาไว้
และหากบนบานศาลกล่าวอย่างที่หวังก็มักจะประสบความสำเร็จแต่เราทราบกันดีอยู่แล้วทุกอย่างเป็นความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้นคุณผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านและไม่ลบหลู่เพราะเราทุกคนต่างมีความเชื่อไม่เหมือนกันแต่หากศรัทธายึดเหนี่ยวไว้เป็นที่กราบไหว้และพึ่งพาทางจิตใจของผู้มาเยือนหรือชาวบ้านบริเวณนั้นนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูล : คุณาพร ไชยโรจน์
ขอบคุณภาพ : กิตติพร ไชยโรจน์
ศาลาตาเล่อเท่อ ที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อของสำคัญสูญหาย
27 เมษายน 2568 | 230จากอดีตบ้านทุ่งเหม็นขี้ สู่บ้านทุ่งขมิ้น(นาหม่อม)
27 เมษายน 2568 | 213บุกป่าหาน้ำตกลับ...น้ำตกโตนหน้าผี ณ เขาพระ อ.รัตภูมิ
27 เมษายน 2568 | 275ศาลเจ้าแม่กวนอิมสวนหมาก ศาลเจ้าแห่งแรกที่ริเริ่มทำโรงทานเจในสงขลา
20 เมษายน 2568 | 257พาชม...บ้านขุนตระการตะเครียะเขต บ้านเก่าโบราณนับร้อยปี "บ้าน 108 เสา"
30 มีนาคม 2568 | 940รู้หม้ายว่า? สงขลาเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด
30 มีนาคม 2568 | 732เปิดตำนานความเชื่อ พ่อปู่ภุชงค์-แม่ย่าทองคำ วัดโคกเปี้ยว สงขลา
30 มีนาคม 2568 | 590ศาลเจ้าพ่อทวดหมอน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ตำบลคูขุด อ.สทิงพระ
2 มีนาคม 2568 | 867