หางานหาดใหญ่ หาดใหญ่ ชัดทุกเรื่องเมืองหาดใหญ่ สงขลา อับเดตข่าวหาดใหญ่ Hatyaifocus สาวสวยหาดใหญ่ หนุ่มหล่อหาดใหญ่

เรื่องราวหาดใหญ่

สงขลา | ย้อนเส้นทางชีวิต "พลเอกเปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรี 2แผ่นดิน
26 พฤษภาคม 2562 | 11,415

"เกิดมาต้องทดแทนบุญคุณแผ่นดิน" ยังคงถือว่าเป็นวลีเด็ดที่ครองใจและยึดใจคนสงขลามาตลอด พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๖ ของประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๓๑) เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๖๓ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ เกิดที่บ้านบ่อยาง เลขที่ ๗๘๘ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ตำแหน่งพะทำมะรง (พัศดี) เมืองสงขลา (พ.ศ. ๒๔๕๗) กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลา-นนท์) มีพี่น้อง ๘ คน คือ

๑. นายชุบ ติณสูลานนท์

๒. นายเลข ติณสูลานนท์

๓. นางขยัน (ติณสูลานนท์ ) โมนยะกุล

๔. นายสมนึก ติณสูลานนท์

๕. นายสมบุญ ติณสูลานนท์ 

๖. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

๗. เด็กหญิงปรี ติณสูลานนท์ 

๘. นายวีระณรงค์ ติณสูลานนท์ 

ชื่อ “เปรม” นั้น ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฐภรโณ - เปรียญ) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ตั้งให้ ในคำไว้อาลัยแด่ท่านเจ้าคุณรัตน-ธัชมุนี (แบน คณฐาภรโณ) เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๒๓ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้เขียนคำไว้อาลัยตอนหนึ่งว่า “อนึ่งท่านเจ้าคุณและบิดาของผมเป็นศิษย์ร่วมอุปัชฌาย์อาจารย์เดียวกันและบิดาของกระผมเป็นผู้กราบนมัสการขอให้ท่านเจ้าคุณตั้งชื่อให้กระผม จึงนับได้ว่าท่านเจ้าคุณเป็นผู้มีพระคุณต่อกระผมเป็นส่วนตัวด้วย”ส่วนนามสกุล “ติณสูลานนท์” นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ พระราชทานให้ เมื่อ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๒

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับการศึกษาโดยสรุปดังนี้

พ.ศ. ๒๔๖๙ เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา มีเลขประจำตัว ๑๖๗ และมีความประทับใจในขณะได้รับการศึกษา คือ

- เริ่มเรียนครั้งแรกจนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๗๘

- ในสมัยเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน และทรงพระดำเนินเยี่ยมในห้องเรียน ท่านก็ทรงอ่านสมุดวิชา “สรีรศาสตร์” ของเด็กชายเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่ง ฯพณฯ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

- ในขณะที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เด็กชายเปรม ติณสูลานนท์ กับเด็กชายอิ่ม นิลรัตน์ ผลัดกันสอบได้ที่ ๑ มาโดยตลอดจนครูแยกห้องเรียนกัน และเด็กชายเปรม เคยได้รับ ”เกียรติบัตรหมั่นเรียน” เพราะเรียนดีไม่เคยสาย ไม่เคยขาดเรียน ได้ทุกปี

-เป็นนักกีฬาประเภทวิ่งผลัด และนักฟุตบอลของโรงเรียน

- เป็นนายหมู่ลูกเสือตรี ขณะนั้นเรียนมัธยมปีที่ ๕ ข.

- ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๗๙ เข้าเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัยแผนกวิทยาศาสตร์ มีเลขประจำตัว ๗๕๘๗ เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๗ - ๘

- ได้เข้าเรียนในเมืองหลวง โดยพี่ชายชื่อชุบ ติณสูลานนท์

- ขณะเรียนอาศัยอยู่บ้านของพระยาบรรณสิทธทัณฑการ

- ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๑ เข้าเรียนโรงเรียน “เท็ฆนิคทหารบก” หรือโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าในปัจจุบัน

- ขณะเรียนต้องการเป็นทหารปืนใหญ่ แต่พอเกิดสงครามจึงต้องเปลี่ยนมาเลือกเป็นทหารม้า

พ.ศ. ๒๔๘๔ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรพิเศษของโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก (จปร) นักเรียนนายร้อยรุ่นนี้รับการศึกษาไม่ครบ ๕ ปี ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ คือต้องใช้เวลาการศึกษาเพียง ๓ ปี เท่านั้น เพราะต้องออกมาเป็นผู้บังคับหมวดตั้งแต่มีสภาพเป็นนักเรียนนายร้อย

ประวัติการรับราชการ

๓ มกราคม ๒๔๘๔ เป็นผู้บังคับหมวดประจำกรมรถรบ ทั้ง ๆ ที่ยังเรียนไม่จบหลักสูตร เนื่องจากเกิดกรณีพิพาทในอินโดจีนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส นับเป็นการเข้าสู่สงครามครั้งแรก

๒๐ มกราคม ๒๔๘๔ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ว่าที่ร้อยตรี เปรม ติณสูลานนท์ แต่ไม่ได้เข้าพิธีพระราชทานกระบี่จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากต้องไปประจำการอยู่ที่สนามรบปอยเปต ประเทศเขมร (รับกระบี่ในสนามรบ)

มกราคม ๒๔๘๕ - ๒๔๘๘ ได้รับแต่งตั้งให้ไปสงครามอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นครั้งที่ ๒ (สงครามมหาเอเซียบูรพา) เป็นผู้หมวดตอนแรก เป็นกองหนุนของกองทัพคือกองทัพพายัพ ซึ่งมีหลวงเสรีเริงฤทธิ์เป็นแม่ทัพ กองบัญชาการอยู่ที่ลำปาง ต่อมากองทัพเคลื่อนย้ายไปอยู่เชียงราย และได้รับคำสั่งให้ไปขึ้นอยู่กับกองพล ๓ ที่เชียงตุง จนได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก และได้รับคำสั่งให้เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ลพบุรี

๒๓ กรกฎาคม ๒๔๘๙ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ กองพันที่ ๑ กรมรถรบ

๔ ธันวาคม ๒๔๘๙ เข้าศึกษาเป็นนายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนนายทหารม้า

๒๙ สิงหาคม ๒๔๙๐ รักษาราชการรองผู้บังคับกองร้อย

๘ เมษายน ๒๔๙๒ รักษาราชการผู้บังคับกองพันที่ ๑

๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ กองพันทหารม้าที่ ๔ จังหวัดอุตรดิตถ์

๑ พฤษภาคม ๒๔๙๓ เป็นรองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๔

๗ กรกฏาคม ๒๔๙๓ เป็นรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์

๓ มีนาคม ๒๔๙๕ เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศเนื่องจากรับทุนจากกองทัพบกโดยการสอบแข่งขันได้ไปศึกษาต่อที่ THE UNITED STATES ARMY ARMOR SCHOOL ฟอร์ทนอกซ์ ซึ่งอยู่ที่รัฐแคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา

๒๔ เมษายน ๒๔๙๖ เป็นอาจารย์ในแผนกวิชายุทธวิธี กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ (บริเวณเกียกกาย) กรุงเทพมหานคร

๓๐ ธันวาคม ๒๔๙๗ เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๕ กรมทหารม้าที่ ๒ และรักษาราชการอาจารย์แผนกวิชาทหาร กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ

๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๘ เป็นอาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาทหาร กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ กองพลทหารม้า

๑๐ มีนาคม ๒๕๐๑ เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า

25 ธันวาคม ๒๕๐๑ เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า

๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

พ.ศ. ๒๕๐๓ เข้าศึกษาการวิทยาลัยการทัพบก หลลักสูตรพิเศษชุดที่ ๒ (ยศพันเอก)

พ.ศ.๒๕๐๙ เข้าศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ ๙ (ยศพันเอก)

๔ กรกฏาคม ๒๕๑๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา

๑ ตุลาคม ๒๕๑๑ เป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า

๑๔ เมษายน ๒๕๑๒ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร

๑๘ กรกฏาคม ๒๕๑๒ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์

พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๕ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวรสืบต่อไป

๑ ตุลาคม ๒๕๑๖ เป็นรองแม่ทัพภาคที่ ๒

๑ ตุลาคม ๒๕๑๗ เป็นแม่ทัพภาคที่ ๒

๑ ตุลาคม ๒๕๑๘ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์พิเศษ

๑ ตุลาคม ๒๕๒๐ ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไปฝ่ายทหาร และเป็นผู้ข่วยผู้บัญขาการทหารบก มียศเป็นพลเอก

๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีข่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

๒๗ กรกฏาคม ๒๕๒๑ เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์

๑ ตุลาคม ๒๕๒๑ เป็นผู้บัญชาการทหารบก

๔ ธันวาคม ๒๕๒๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์

๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๒ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

๑๒ กรกฏาคม ๒๕๒๒ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์

๓ มีนาคม ๒๕๒๓ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี

๒๓ เมษายน ๒๕๒๓ ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๓ เรื่องนโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ อันนำไปสู่การยุติสงครามกลางเมืองลงอย่างเด็ดขาด

๑ พฤษภาคม ๒๕๒๖ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๖

๕ สิงหาคม ๒๕๒๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙

๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๑ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้เป็น องคมนตรี และได้ทรงพระ- กรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์อัน เป็นโบราณมงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์ ซึ่งถือว่าเป็น เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดสำหรับสามัญชน ให้แก่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๑ ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ประกาศยกย่องพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็น รัฐบุรุษ

หลังจากที่เราทราบประวัติของท่านมาพอสมควรวันนี้ หาดใหญ่โฟกัส จะย้อนไปให้นึกถึงนั่นก็คือ หนึ่งความความภาคภูมิใจที่ท่านทำให้กับพี่น้องชาวงสงขลาและคุณประโยชน์ที่ท่านทำไว้ให้

๑.พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ หรือ บ้านของตระกูลติณสูลานนท์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนจะนะ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา(ใกล้กับพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติสงขลา) ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีก แห่งหนึ่งของ จังหวัดสงขลา 

สะพานติณสูลานนท์ ที่ชาวสงขลานิยมเรียกว่า สะพานติณ สะพานเปรม หรือสะพานป๋าเปรม สะพานข้ามทะเลสาบที่ยาวที่สุด นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ จ.สงขลา สร้างขึ้นในสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อ อำนวยความสะดวกในการคมนาคมให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ซึ่งมีไม่เพียงพอกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ทำให้การเดินทางต้องใช้เวลานาน ทั้งเมื่อข้ามฝั่งมาแล้วก็ยังทำให้การจราจรติดขัดในตัวเมืองอีกด้วย 

๓.สวนประวัติศาสตร์  พลเอก เปรม ติณสูลานนท์  ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานติณสูลานนท์  ตำบลพะวง  อำเภอเมืองสงขลา  จังหวัดสงขลา  เป็นสถานที่ที่ชาวสงขลาและผู้มีจิตศรัทธาในคุณความดี  ความเสียสละของ  ฯพณฯ  พลเอก เปรม    ติณสูลานนท์  ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ  ร่วมมือกันจัดสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติ  โดยสร้างอาคารอเนกประสงค์  เพื่อเป็นสถานที่ประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ  ปัจจุบันปรับปรุงเป็นหอประวัติ  พลเอก เปรม    ติณสูลานนท์  ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณเป็น สวนสาธารณะ  แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลน  ค่ายพักแรม(Camping)  เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแหล่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา  

๔.โรงเรียนมหาวชิราวุธ ท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์มอบเงินส่วนตัวของท่าน จำนวน 500,000 บาท ในนามของสกุล "ติณสูลานนท์" ให้กับโรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ทุนเริ่มต้น ในการจัดสร้างอาคารหอสมุดโรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา จังหวัดสงขลา และได้มอบให้สมาคมนักเรียนเก่า รับผิดชอบเกี่ยวกับการประสานงานก่อสร้าง ตามที่ท่านได้ดำริเอาไว้ ซึ่งในการจัดสร้างหอสมุดครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงถึงความมีมุทิตาจิตและความกตัญญูของท่าน ในฐานะของนักเรียนเก่าที่มีต่อโรงเรียนแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ นับเป็นตัวอย่างที่ดีควรแก่การยกย่องสรรเสริญ

เรื่องราวดี ๆ ของท่านยังไม่ได้หมดแต่เพียงเท่านี้ ท่านยังคงมีเมตตากับเด็กที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ท่านจะมีมูลนิธิมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กทุกระดับทุกปี อย่างเช่นมูลนิธิที่ชื่อว่า "กองทุนส่งเสริมการศึกษาฯ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์" รวมถึงกองทุนอื่น ๆ ของจังหวัดสงขลาอีกมากมาย

ครั้นเมื่อเดินมาทางบ้านกิดล่าสุด มีข้อความสุดท้ายที่ป๋าเปรมได้เขียนไว้เมื่อวันที่ ๑๖/ ๖/๖๑ ที่ผ่านมา เนื่องจากป๋าเปรมได้เดินทางมาเยี่ยมบ้านเกิด พิพิธภัณฑ์พะธำมรงค์ (บ้านป๋าเปรม)  ถนนจะนะ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พร้อมกับเขียนข้อความสุดประทับใจให้กับพี่น้องชาวเทศบาลสงขลา ซึ่งข้อความที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เขียนขึ้นมานี้ เป็นที่ปลาบปลื้มให้กับผู้ที่อ่านเป็นอย่างมาก 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : paiduaykan , museumthailand ,pramlatter.tripod.com

ขอบคุณรูปภาพ : โรงเรียนมหาวชิราวุธจังหวัดสงขลา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง