วันนี้(4/8/63) เช้านี้ค่าปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละออง PM.2.5จากสถานีวิจัย ม.อ.หาดใหญ่ ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมง ณ ขณะนี้ อยู่ที่ 48 ไมโครกรัม/ลบ.ม. จุดเผาไหม้ประเทศอินโดนีเซียมีเพียงเล็กน้อย ด้วยกระแสลมทิศตะวันตกเฉียงใต้พัดนำเอากลุ่มควันผ่านในพื้นที่สงขลา สตูล "ทำให้ควันเพิ่มปริมาณขึ้น"
ซึ่งความรุนแรงของสถานการณ์จะขึ้นอยู่กับทิศทางลมและความกดของอากาศ การเฝ้าติดตามสถานการณ์ในพื้นที่บริเวณต้นเหตุหมอกควันได้รับการติดตามการเกิดจุดเผาไหม้ (Hotspot) ด้วยดาวเทียมข้อมูล NOAA-18 และในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ได้เฝ้าระวังตรวจวัดคุณภาพอากาศ จำนวน 6 สถานี ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส
ปัญหาหมอกควันข้ามแดน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทย จึงทำให้พัดพาเอาหมอกควันจากการเผาไหม้จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาด้วย สาเหตุเกิดจากการเตรียมพื้นที่การเกษตร ในเกาะสุมาตราและบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย หมอกควันสามารถส่งผลกระทบต่อภาคใต้ของประเทศไทย
ขอบคุณภาพข้อมูล : รศ.ดร.พีระพงค์ ทีฆสกุล
นาทวี | ฝูงนกเงือกกรามช้างปากเรียบมาเยือนเขาน้ำค้าง ชาวบ้านแห่ชม 2
14 กรกฎาคม 2568 | 4,756พัทลุง | นักท่องเที่ยวแห่ชมปรากฏการณ์ธรรมชาติใกล้ชิด
13 กรกฎาคม 2568 | 4,735ภาคใต้ | อุตุเตือน ภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากมีคลื่นลมแรง ช่วงวันที่
12 กรกฎาคม 2568 | 5,418ระโนด | ปล่อยปลากะพงขาว 10,000 ตัวลงสู่คลองแดน
12 กรกฎาคม 2568 | 4,722สตูล | อช.หมู่เกาะเภตรา สำรวจพบพะยูนฝูงใหญ่-สัตว์ทะเลหายาก
7 กรกฎาคม 2568 | 5,083ยารักษามะเร็ง | อิมครานิบ 100
7 กรกฎาคม 2568 | 4,874ม่วงงาม | เดินหน้าแล้ว 30% รื้อถอนเขื่อนกันคลื่นหาดม่วงงาม งบฯ 87
4 กรกฎาคม 2568 | 5,616หาดใหญ่ | คนแรกของไทย! ผศ.ดร.อิทธิพล จีระพันธ์ คว้ารางวัล The
1 กรกฎาคม 2568 | 6,565